หลี่ ซานฉาย (李三財) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวฮ่องกงที่ก่อตั้งสถาบันสอนภาษา Di Xue Tang (諦學堂) ได้เชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากประเทศในนโยบายมุ่งใต้ใหม่มาทำหน้าที่เป็นผู้สอนภาษาต่างประเทศ ล่าสุดมีการเพิ่มการเรียนภาษาลาว และภาษาฮินดูด้วย ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในการใช้ภาษาแม่หารายได้เพิ่มและหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไต้หวันด้วย
สำนักข่าว Nownews รายงานว่า Siti Nurholisoh อาจารย์ชาวอินโดนิเซีย กล่าวบนเวทีหน้าชั้นเรียนว่า “terima kasih”และนักเรียนก็พูดตาม ซึ่งมีความหมายว่า “ขอบคุณ” ในภาษาอินโดนิเซีย ซึ่งเป็นการปฏิบัติทั่วไปในคลาสนี้ คลาสเรียนภาษาต่างประเทศของสถาบันสอนภาษาทำการสอนโดยผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และนักศึกษาชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เดินทางมาเรียนหนังสือที่ไต้หวัน ซึ่งจะทำให้คนไต้หวันสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ง่ายขึ้น
Siti Nurholisoh จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติครูไต้หวัน ซึ่งในระหว่างเรียนก็ได้พบที่สถาบันสอนภาษาดังกล่าวเปิดรับอาจารย์ผู้สอน เธอจึงได้ส่งเรซูเมของตนเองไปยังสถาบันและได้เริ่มสอนภาษาอินโดนิเซียในปี 2017
Siti กล่าวว่า จริงๆ แล้วชาวไต้หวันหลายคนไม่รู้ว่าประเทศอินโดนิเซียเป็นอย่างไร ซึ่งคลาสสอนภาษาอินโดนิเซียก็ทำให้นักเรียนหลายคนเกิดความสนใจในอินโดนิเซีย ทำให้เธอรู้สึกปะหลาดใจมาก
โดยแรงบัลดาลใจในการเรียนภาษาอินโดนิเซีย เนื่องจากแรงงานชาวอินโดนิเซียทำงานอยู่ที่บ้าน หรือมีคู่สมรสชาวอินโดนิเซีย หรือต้องการไปท่องเที่ยวที่อินโดนิเซีย
คุณหลู๋จิ้ง (呂竟) เจ้าหน้าที่บริษัทนายหน้ากล่าวว่า เนื่องจากความจำเป็นในการใช้ภาษาในการทำงาน จึงได้มาเรียนภาษาที่นี่ ซึ่งคุณหลู๋จิ้งได้เรียนภาษามาเล ฟิลิปปินส์ และอินโดนิเซีย เพื่อใช้สื่อสารกับแรงงานและนักศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ยังมีคุณเฉิน กั๋วเจิ้ง (陳國正) เป็นลูกครึ่งชาวอินโดนิเซียที่ต้องการเดินทางไปเยี่ยมญาติ จึงได้มาเรียนภาษาอินโดนิเซีย
คุณหลู๋จิ้งกล่าวว่า ไต้หวันมีกฎการแต่งงานกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมาย คุณต้องแต่งงานที่ท้องถิ่นก่อน และต้องผ่านการสัมภาษณ์จากสำนักงานเศรฐกิจไทเป ประจำประเทศนั้นๆ ก่อน จึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสที่ไต้หวันได้ ดังนั้นจึงอยากเรียนภาษาอินโดนิเซีย เพื่อในอนาคตจะได้เข้าทำงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อช่วยเหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่