ในทุกวินาทีทั่วโลกจะเกิด “ฟ้าผ่า” 60 ครั้ง โดยประกายไฟขนาดใหญ่นี้เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร็ว 200,000 ไมล์ต่อชั่วโมง มีร้อนมากกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ และมีกำลังไฟฟ้ามากกว่าปลั๊กไฟชาร์จสมาร์ทโฟนหลายพันเท่า นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสายฟ้าถึงอันตรายมาก
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ส่งผลทำให้เกิดฟ้าผ่าเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งฟ้าผ่าที่ทำให้เกิดไฟป่า และฟ้าผ่าลงพื้นจนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกทำการศึกษาร่วมกัน ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โลกจะเกิด “ฟ้าผ่าความร้อน” (Heat Lightning) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก “ภาวะโลกร้อน” ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้นในหลายส่วนของโลก
นักวิจัยวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมการเกิดไฟป่าในสหรัฐระหว่างช่วงปี 1992-2018 พบว่า 90% ของไฟป่าที่ทำการสังเกตมีแหล่งกำเนิดมาจากฟ้าผ่าความร้อน โดยยิ่งเกิดฟ้าผ่านานเท่าไหร่ยิ่งจะทำให้สามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุติดไฟที่อยู่ข้างเคียงได้ดีมากขึ้น เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้ และแม้แต่หญ้า /Flickr
นักวิจัยวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมการเกิดไฟป่าในสหรัฐระหว่างช่วงปี 1992-2018 พบว่า 90% ของไฟป่าที่ทำการสังเกตมีแหล่งกำเนิดมาจากฟ้าผ่าความร้อน โดยยิ่งเกิดฟ้าผ่านานเท่าไหร่ยิ่งจะทำให้สามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุติดไฟที่อยู่ข้างเคียงได้ดีมากขึ้น เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้ และแม้แต่หญ้า
ปรกติแล้วฟ้าผ่าจะมีใช้เวลาการเกิดประมาณ 40 มิลลิวินาทีจนถึงเกือบหนึ่งในสามของวินาที แต่ด้วยแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคต ทำให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ฟ้าผ่าจะเกิดถี่ยิ่งขึ้น จาก 3 ครั้งต่อวินาที เป็น 4 ครั้งต่อวินาที และภายในปี 2090 ฟ้าผ่าจะเกิดเพิ่มขึ้นถึง 28%
เมื่อโลกร้อนขึ้น ภูมิภาคที่จะเกิดฟ้าผ่าร้อนเพิ่มมากขึ้น ทำให้รูปแบบสภาพอากาศก็เปลี่ยนไป นักวิทยาศาสตร์พบว่าบางส่วนของอเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแอฟริกาล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่ามากขึ้น โดยอเมริกาเหนือจะมีแนวโน้มที่จะเกิดฟ้าผ่าและไฟป่ามากที่สุด
ช่วงที่ฟ้าผ่าสูงสุดในสิงคโปร์คือ เดือนเมษายน พฤษภาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน จะเป็นช่วงเดือนระหว่างมรสุม ที่มีลมเบาบางและลมแปรปรวนเป็นส่วนใหญ่กระตุ้นให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงเฉพาะจุด โดยช่วงนี้จะเกิดฟ้าผ่าประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ มีประมาณ 20% ที่ผ่าลงพื้นดินซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่มีความรุนแรงมากที่สุด
เมื่อโลกร้อนขึ้น ภูมิภาคที่จะเกิดฟ้าผ่าร้อนเพิ่มมากขึ้น ทำให้รูปแบบสภาพอากาศก็เปลี่ยนไป นักวิทยาศาสตร์พบว่าบางส่วนของอเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแอฟริกาล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่ามากขึ้น โดยอเมริกาเหนือจะมีแนวโน้มที่จะเกิดฟ้าผ่าและไฟป่ามากที่สุด/Flickr
ฟ้าผ่าคร่าชีวิตหรือทำให้ผู้คนบาดเจ็บประมาณ 250,000 คนทั่วโลกทุกปี ซึ่งเกิดบ่อยที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้คนจำนวนมากทำงานกลางแจ้ง โดยไม่มีที่พักปลอดภัยจากฟ้าผ่าในบริเวณใกล้เคียง และมีพื้นที่ไฟไหม้จากการเกิดฟ้าผ่าประมาณ 4 ล้านเอเคอร์
ข้อมูลอย่างเป็นทางการเผยว่า ทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี 2021 มีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าในประเทศเอเชียใต้แล้วอย่างน้อย 2,800 ราย ขณะที่สหประชาชาติระบุว่าบังกลาเทศมีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าโดยเฉลี่ย 300 รายต่อปี โดยในช่วง 8 วันสุดท้ายของเดือนพฤษภาคม 2024 มีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่า 43 ราย ส่วนในเดือนเมษายน มีผู้เสียชีวิต 31 รายจากฟ้าผ่าในบังกลาเทศ
ชาห์เรียร์ ฮอสเซน เลขาธิการองค์การสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดฟ้าผ่าในบังกลาเทศเพิ่มมากขึ้น โดยในปีนี้บังกลาเทศเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ปี 1948 และเป็นครั้งแรกที่เกือบ 75-80% ของประเทศเผชิญกับคลื่นความร้อนอย่างต่อเนื่อง
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ฝนตกไม่ตรงฤดู ร้อนจัด หรือฝนตกช้า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิบนพื้นผิวดินสูงกว่าในอากาศและสิ่งแวดล้อม” ฮอสเซนอธิบาย