ตามข้อมูลจาก “กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม” ระบุว่า การทอดกฐินหรือการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน เป็นการถวายทานที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ชื่อมหาวัคค์ เรื่อง กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน) ว่า ครั้งหนึ่งมีภิกษุชาวเมืองปาฐา หรือปาวา จำนวน ๓๐ รูป ที่เดินทางมาด้วยหวังจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี พอถึงเมืองสาเกตุอีก ๖ โยชน์จะถึงเมืองสาวัตถีก็ถึงกาลเข้าพรรษา จึงต้องอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ในระหว่างจำพรรษาอยู่นั้นก็มีความกระวนกระวายในการอยากจะเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาค ครั้นเมื่อออกพรรษา ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทันที ทำให้น้ำหรือโคลนตมเปรอะเปื้อนจีวรในระหว่างเดินทาง เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้เข้าเฝ้า พระพุทธองค์ ทรงปฏิสันถารด้วยภิกษุเหล่านั้น และทรงทราบถึงความลำบากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุมีพระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน และโปรดให้เป็นการสงฆ์ คือเป็นสังฆกรรมสำหรับภิกษุทั้งหลายทั่วไป ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วหนึ่งเดือน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒)
อ่านข่าวเพิ่มเติม:ชีวิตเหมือนเกิดใหม่ของหนูน้อยแขนช้างชาวกัมพูชา “อวี๋ จวินหนี” ตอบแทนไต้หวันด้วยใจอาสา!
ตามข้อมูลจาก “กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม” สำหรับ ผ้าที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้นั้น เป็นผ้าใหม่ก็ได้, ผ้าเทียมใหม่ก็ได้, ผ้าเก่าหรือผ้าบังสุกุลก็ได้ แต่ผ้าเหล่านี้จะต้องมีพอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนใดผืนหนึ่ง (ผ้าไตรจีวร ของพระสงฆ์มี ๓ ผืน คือ สบง = ผ้านุ่ง, จีวร = ผ้าห่ม, และสังฆาฏิ = ผ้าซ้อนห่ม หรือผ้าพาด) ผ้านี้คือผ้าองค์กฐิน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ไม่ใช่องค์กฐิน แต่เป็นบริวารกฐิน บริวารกฐินนี้จะมีมากหรือน้อยก็ได้ไม่มีกำหนด แล้วแต่ตามศรัทธาของผู้ถวาย
กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดวันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น
๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐินจำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด