คำว่า "โรคเดือนมิ.ย" เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและมีให้เห็นอย่างแพร่หลายในไต้หวัน ซึ่งเป็นโรคทางจิตวิทยาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและแรงกดดันในชีวิต โดยแพทย์จากกองเวชศาสตร์ครอบครัวเผยว่า ผู้ที่เผชิญกับความเครียดมากๆ จะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง แน่นท้อง และรู้สึกไม่สบายที่ระบบทางเดินอาหารได้ง่าย จึงแนะนำให้รับประทานผลไม้ในวันธรรมดามากขึ้น และรักษาสุขภาพลำใส้ให้แข็งแรงอยู่แสมอ
ในเดือนมิ.ย หลายคนกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งอ่านหนังสือเตรียมสอบหลายเดือน ส่วนนักศึกษาที่พึ่งจบใหม่ก็ต้องปรับตัวกับการทำงาน นอกจากนี้ยังมีเจ้าสาวหลายคนที่กำลังจะแต่งงานและเริ่มต้นชีวิตใหม่ นักศึกษาใหม่ที่รู้สึกแปลกๆ ที่กำลังจะเริ่มเรียนในที่ใหม่ ซึ่งแรงกดดันมหาศาลหลายชนิดรวมกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุในเดือนมิ.ย.ก็จะเกิดผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจอย่างไม่น่าเชื่อส่งผลให้เกิดโรคที่มีชื่อว่า "โรคเดือนมิ.ย"
"โรคเดือนมิ.ย" เป็นโรคทางจิตวิทยาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและแรงกดดันในชีวิต ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า เหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิทำงาน รู้สึกอ่อนแอ ไม่อยากอาหาร และแม้แต่ความสามารถในการตัดสินใจและคิดช้าลง นอกจากนี้ยังมีอาการท้องเสีย ท้องผูก วิงเวียน และคลื่นไส้ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิการเรียน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิต
นายแพทย์เฉิน จื้อเต้า (陳志道) กองเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาล Far Eastern Memorial ระบุว่า ผู้ที่มีอาการไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร ให้รับประทานผลไม้ที่มีไฟเบอร์ละลายน้ำได้เช่น กีวี่ ซีตรัส เป็นต้น เพื่อรักษาสุขภาพของสำใส้
นายแพทย์เฉินยังได้กล่าวเวริมว่า หากคุณมีลำใส้ที่ระคายเคืองง่าย ก็ควรจะเลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง การรับประทานผลไม้ที่ระคายเคืองสำใส้สูงอย่าง แอปเปิล มะม่วง แตงโม และกล้วยก็อาจจะทำให้มีอาการหนักเข้าไปอีก จึงควรรับประทานผลไม้ที่ระคายเคืองสำใส้ต่ำอย่าง กีวี่ สตอเบอรรี่ แคนตาลูป หรือองุ่น เป็นต้น