การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อรองรับ AEC ของอําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งประกอบไปด้วยการการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เพื่อรองรอบ AEC และเพื่อพัฒนาไปสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับสากล อําเภออัมพวาถือว่าเป็น มรดกทางวัฒนธรรมอีกที่หนึ่งของประเทศไทย ที่สามารถพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน ตลาดท่องเที่ยวได้ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในบริเวณอําเภออัมพวา เป็นจํานวนมาก และจากสถิติพบว่า ปี 2561 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัด จํานวน 1,913,844 คน และปี 2562 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในในพื้นที่อําเภออัมพวา จํานวน 2,039,073 จากสถิติมีจํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากหน่วยงานและ ผู้ประกอบการต่างๆในพื้นที่ได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องตลอดจนการพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอาเซียนซึ่ง สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559 – 2568 ที่มีวิสัยทัศน์และ เป้าหมายครอบคลุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้าน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ
ตลาดน้ำอัมพวา ภาพจาก/อินเตอร์เน็ต
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ขยายเวลามาตรการป้องกันโรคระดับ 2 ออกไปถึงวันที่ 29 พ.ย. ดูที่เดียวจบ
ในอดีตอําเภออัมพวา ถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สําคัญของจังหวัด สมุทรสงคราม ต่อมาทางเทศบาลตําบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนใน ท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยากให้สืบทอดตลอดไปโดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น" โดยทั่วไป มักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็นที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงเวลาเย็น เรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดใน ลักษณะเช่นนี้ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนําสินค้าหลากหลายชนิด เช่น อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่ สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวาทําให้ ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้อีก คือ การล่องเรือชมไปตาม แม่น้ำลําคลอง ล่องเรือทําบุญไหว้พระตามวัดดังต่างๆ ในอําเภออัมพวา ซึ่งทําให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกับธรรมชาติและวิถีชีวิตมากขึ้น
ศิลปะมวยไทยของอำเภออัมพวา ภาพจาก/อินเตอร์เน็ต
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ข่าวดี! แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว อนุญาตให้แรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซียเข้าก่อน
อัมพวา: การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสู่อาเซียน
ปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่สร้างรายได้หลักให้กับหลายๆ ประเทศมากกว่าการส่งออกสินค้า การท่องเที่ยวสามารถส่งผลกระทบทั้งในทางบวกและ ทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ปัจจุบัน การ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนและเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มที่จะ ลดน้อยและเสื่อมโทรมลง
การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในยุคสมัยปัจจุบัน นักท่องเที่ยวนิยม การท่องเที่ยวในรูปแบบการผจญภัย การเข้าไปมีส่วนร่วม การสัมผัสกับธรรมชาติอย่าง ใกล้ชิด รวมทั้ง มีความต้องการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและวัฒนธรรมใน สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ รวมถึงการรณรงค์ในประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปมีความตื่นตัวและให้ความสําคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เอง นํามาซึ่งการสร้างทางเลือกใหม่ในการท่องเที่ยวรวมถึงการสนับสนุนให้สถานที่ท่องเที่ยวเป็นของชุมชนที่จะสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น โดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกับหน่วยงานและชาวบ้านท้องถิ่นทําการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกระตุ้นให้ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ ช่วยกันดูแลรักษาและตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างทางเลือกในการท่องเที่ยวให้เข้ากับยุคสมัยและความ นิยมในปัจจุบัน นั่นคือ การท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์
ชุมชนริมคลองอัมพวา ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นหนึ่งในสถานที่ ท่องเที่ยวที่ถูกพัฒนาและฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อัมพวาเป็นชุมชนริมน้ำที่มี ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการคงไว้ซึ่งรูปแบบวิถีชีวิตแบบดังเดิมของชาวบ้านชุมชนตลาดน้ำอัมพวาที่มีมาแต่อดีต รวมทั้งรูปแบบ สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้ริมน้ำ การใช้เรือแจวในการสัญจร ตลาดนัดทางน้ำ ร้านรวงที่ เป็นเรือนแถวไม้แบบเก่าสองฟากฝั่งริมคลองอัมพวาที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ตลอดแนวสองฟากฝั่งแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่ปากอ่าวทะเลจนถึงคลองอัมพวา มีต้นลําพูเป็นจํานวนมาก ซึ่งต้นลําพูนี้เองเป็นที่อาศัยของหิงห้อยนับล้านตัวส่องแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นความงดงามตามธรรมชาติดึงดูดให้บรรดานักท่องเที่ยวกระหายที่จะ เดินทางไปสัมผัสความงามของธรรมชาติที่ชุมชนริมคลองอัมพวาอย่างใกล้ชิด ซึ่งสํานักงานเทศบาลตําบลอัมพวา ได้รับการสนับสนุนจากสํานักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมในการจัดทําโครงการนําร่องเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมคลองอัมพวา รวมทั้งกระตุ้นให้คนในชุมชนมีความต้องการในการดําเนินการจัดการท่องเที่ยว จนทําให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมตลาดน้ำและชุมชนริมคลองอัมพวามากขึ้นเป็นลําดับ ทั้งได้มีการพัฒนาการบริการด้านการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งมากขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการบริการการ ท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสงครามในที่สุด