รัฐบาลไทยได้เริ่มดำเนินแผนการระยะเวลาสิบปีเพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) โดยประเทศไทยมีความต้องการนำเข้าสินค้านวัตกรรมทางการแพทย์อันชาญฉลาด ซึ่งสอดคล้องกับข้อได้เปรียบทางอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันของไต้หวัน
เพื่อที่จะคว้าโอกาสทางธุรกิจ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไต้หวันและไทย สภาพัฒนาการค้าต่างประเทศ ได้รับคำสั่งจากสำนักการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงเศรษฐการของไต้หวัน ในการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมไต้หวัน (Taiwan Industry Image Enhancement Project-IEP) โดยเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย จัดงานสัมนาภูมิปัญญาทางการแพทย์และการแลกเปลี่ยนโอกาสทางธุรกิจระหว่างไต้หวันและไทย ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์นวัตกรรมของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ไต้หวัน
งานสัมนาสัมนาดังกล่าวสามารถดึงดูดสื่อมวลชนไทย สถาบันการแพทย์ และตัวแทนธุรกิจรวมกว่า 110 คน เข้าร่วมงาน โดยหนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลสิริราช โรงพยาบาลบีเอ็นเอ็ช รวมทั้งกลุ่มองค์กรที่สำคัญเช่น Viktas Berli jucker, Neopharm World medic National Healthcare และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย
เภสัชกร ปรีชา พันธุ์ติเวช ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทยได้กล่าวถึงแนวโน้มของตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย โดยคุณปรีชากล่าวว่า ประเทศไทยค่อยๆ ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุกว่า 32.13% ของประชากรทั้งหมดในปี 2040 และความต้องการอุปกรณ์การแพทย์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไทยมีความพยายามในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการแพทย์อย่างต่อเนื่องเช่น นาฬิกาอัจฉริยะ รถพยาบาลอัจฉริยะ หุ่นยนต์ดูแล และห้องผ่าตัดอัจฉริยะไร้สาย ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลทั้งสิ้นกว่า 1,229 แห่ง รวม 143,305 เตียง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ของไต้หวัน
ดร.นายแพทย์บุญชัย กิจสนาโยธิน แพทย์ประจำศูนย์พัฒนามาตรฐานข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระทรวงสาธารณะสุขได้เล่าถึงสถานการณ์และการพัฒนาการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันของไทย และยังกล่าวอีกว่าประเทศไทยยังไม่ได้สร้างระบบบันทึกข้อมูลการแพทย์แบบคลาวด์ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนในการพบแพทย์และการส่งต่อผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจะสร้างฐานข้อมูลระบบคลาวด์เพื่อรวมเวชระเบียนระหว่างโรงพยาบาลและบูรณาการข้อมูลประชาชนกับหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วย