[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] คัดสรรข่าวประจำสัปดาห์เกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จำนวน 5 ข่าว โดยสรุปสาระสำคัญ และในขณะเดียวกันก็มีการถ่ายทอดออกมาเป็นคลิปวิดีโอ ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมข่าวเด่นประจำสัปดาห์ในเวลาที่สั้นที่สุด (คลิปวิดีโอ: 0730 NIA ข่าววีดีโอ-ภาษาไทย)
“เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” คัดสรรข่าวประจำสัปดาห์เกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ (26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม)
- แรงงานต่างชาติสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้แล้ว โดยต้องตรวจโควิดก่อน
ศูนย์บัญชาการป้องกันโรคระบาดกลางประกาศมาตรการใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคมเป็นต้นไป แรงงานต่างชาติสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้แล้ว โดยนายจ้างคนใหม่ต้องให้แรงงานต่างชาติดำเนินการตรวจเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ก่อนดำเนินการรับตำแหน่ง หากไม่ปฏิบัติตามจะเสียค่าปรับตั้งแต่ 6 หมื่นถึง 3 แสนดอลลาร์ไต้หวัน
(รายละเอียดเพิ่มเติม: "แรงงานข้ามชาติเปลี่ยนนายจ้าง" จะกลับมาให้บริการอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. นี้ นายจ้างใหม่ต้องจัดให้แรงงานเข้ารับการตรวจ PCR ด้วย!)
- กระทรวงแรงงานจัดทำคู่มือการสอนหลายภาษา สำหรับการลงทะเบียนฉีดวัคซีน
ภายหลังจากที่ศูนย์บัญชาการป้องกันโรคระบาดกลางประกาศขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายของระบบลงทะเบียนวัคซีนตามความสมัครใจแล้วนั้น ทำให้แรงงานต่างชาติและชาวต่างชาติที่มีบัตรประกันสุขภาพสามารถที่จะลงทะเบียนได้ โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำ “คู่มือการลงทะเบียนหลายภาษา” สำหรับเพื่อน ๆ ต่างชาติไว้อ้างอิง
(รายละเอียดเพิ่มเติม: วัคซีนตามความสมัครใจ "แรงงานข้ามชาติก็ลงทะเบียนนัดได้" กระทรวงแรงงานจัดทำข้อมูลหลายภาษาอธิบายทีละขั้นตอน)
- ตรวจโควิดแค่ 4 นาทีต่อคน สำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ
เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าให้เข้ามาสู่ไต้หวัน ไต้หวันประกาศเริ่มมาตรการการตรวจ RT-PCR นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยผู้โดยสารใช้เวลาในการตรวจเฉลี่ย 4 นาที
(รายละเอียดเพิ่มเติม: ด่านกักกัน "ผู้โดยสาร 4 นาทีต่อคน" สนามบินเถาหยวน : กรุณารออย่างอดทน)
- ไต้หวันได้รับการยอมรับ ในการจัดการด้านปัญหาการค้ามนุษย์
อเมริกาประกาศผลประเมินการป้องกันการค้ามนุษย์ของโลกในปี 2021 โดยมีประเทศกว่า 180 ประเทศ ไต้หวันได้เป็นประเทศในอันดับ 1 ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศตลอด 12 ปี
(รายละเอียดเพิ่มเติม: ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศอันดับที่ 1 ในการต่อต้าน "การค้ามนุษย์" นานติดต่อกัน 12 ปี!)