กรมควบคุมโรคไต้หวันได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยเป็นโรค SFTS ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส severe fever with thrombocytopenia syndrome virus (SFTSV) เป็นชายวัย 70 ปี ที่ไม่มีประวัติการเดินทางออกนอกประเทศในช่วงที่ผ่านมา แต่ชื่นชอบการทำกิจกรรมในเขตภูเขา เนื่องจากมีไข้และอาเจียนซ้ำ ๆ จึงเดินทางไปพบแพทย์ที่คลินิก ต่อมาเนื่องจากมีผื่นและความมีสติเปลี่ยนแปลงไป ในวันที่ 3 พ.ย. จึงถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พ.ย.กรมควบคุมโรคได้ตรวจสอบโรคไข้เลือดออกแต่กลับมีผลเป็นลบ แต่ยังคงเฝ้าดูอาการต่อไป จนเมื่อวันที่ 13 พ.ย. ก็ได้รับการยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส SFTS ซึ่งลำดับของไวรัสนั้นคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
กรมควบคุมโรคไต้หวันกล่าวว่า เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 2009 และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการยืนยันผู้ป่วยและการเสียชีวิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 5- 15% การระบาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค.ถึงต.ค.ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูเขา ซึ่งไวรัสดังกล่าวจะแพร่กระจายสู่มนุษย์ผ่านการกัดของเห็บ สำหรับในไต้หวันก่อนหน้านี้ไม่มีการยืนยันกรณีพบผู้ป่วยโรค SFTS
กรมควบคุมโรคไต้หวันกล่าวว่า เห็บ จะอยู่อาศัยในธรรมชาติ เช่น หญ้า และต้นไม้ ซึ่งนระหว่างเดือนเม.ย.ถึงต.ค.เป็นฤดูของมันในไต้หวัน ซึ่งเป็นพาหะของโรคข้ออักเสบ โรคไข้คิว และโรค SFTS เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เห็บจากต่างประเทศข้ามพรมแดนมากมากบนกอพยพด้วย จึงขอให้ประชาชนป้องกันตนเองจาการถูกเห็บกัด หลีกเลี่ยงการนั่งบนพื้นหญ้าป่าไม้และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เป็นเวลานาน หากคุณต้องการเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้คุณควรสวมใส่ชุดป้องกัน เช่น กางเกงแขนยาวสีอ่อนถุงมือและรองเท้าบูท ส่วนบริเวณผิวที่ไม่ได้ปกปิดก็สามารถใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET หรือ picaridin ทาป้องกัน หลังจากเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมนอกบ้าน ต้องทำการตรวจสอบว่ามีหรือถูกเห็บกัดหรือไม่ หากคุณพบว่าถูกเห็บกัด ให้ใช้แหนบคีบออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าบี้หรือขยี่ให้ตัวมันแตก และรีบอาบน้ำทันที เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
หากคุณมีอาการที่น่าสงสัย ต้องรับไปพบแพทย์ทันที่และเล่าประวัติการทำกิจกรรมของตนเอง ให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโดยเร็วที่สุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามฟรีได้ที่สายด่วนป้องกันโรค 1922(หรือโทร 0800-001922)