ตามข้อมูลจาก “โรงพยาบาลสมิติเวช” อาการเตือนของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. สภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น เคยเป็นคนอารมณ์ดีก็เปลี่ยนเป็นหงุดหงิดง่าย มีเหตุผลน้อยลง ขี้บ่นมากขึ้น หรือสนใจในสิ่งที่เคยชอบลดลงจากเดิม
2. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเบื่อหน่ายในการมีชีวิตอยู่ ไม่อยากร่วมกิจกรรม พูดน้อยลง ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ยอมกินยา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3. มีปัญหาการนอนที่ผิดปกติ นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นกลางดึก
4. มีอาการความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้นลง
5. มีความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตัวเอง อาจมีประโยคนำเช่น “ไม่อยากอยู่ ตายๆไปได้ก็ดี”
6. เหนื่อยไม่มีพลังงาน ทำอะไรช้า ปวดเมื่อย อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ
สาเหตุของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
1. ปัจจัยทางกาย : ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง โรคไตวายเรื้อรัง จะกระตุ้นให้มีภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น ผู้ป่วยโรครุนแรง เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคที่ทำให้ทุพพลภาพหรือพิการ หรือมีอาการปวดเรื้อรังที่ควบคุมได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หรือโรคพากินสัน มีภาวะเนื้อสมองฝ่อตายก่อนเวลาอันควร ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของคนไข้ อาจมี อาการเชื่องช้ากว่าปกติ ไม่ค่อยมีพลังงาน ไม่อยากสนใจอะไร พูดช้าๆ คิดช้า ความจำแย่ลง ผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะมีภาวะทางกายคล้ายโรคซึมเศร้า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือรับประทานยาบางชนิด ผู้ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือวิตามิน B12, Folate
2. ปัจจัยทางจิตสังคม : การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียคู่ชีวิต หรือคนในครอบครัว การสูญเสียสถานะในครอบครัว เครือญาติ หรือในสังคม การไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในขีวิต มีปัญหาหนี้สิน รายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ คนเหล่านี้มักมีภาวะซึมเศร้า
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่แซวกันสนั่นโซเชียล ! ป้ายสีแดงหน้าร้านค้า อีกหนึ่งเรื่องตลกๆ ในไต้หวัน
วิธีปฏิบัติต่อผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ได้แก่
1. ให้ความเอาใจใส่ ดูแล และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยการคุยกันและฟังกันให้มากขึ้น
2. เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารพิษในบ้าน ให้ไกลมือผู้ป่วย
3. ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ
4. ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง
5. มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกล้วยดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่า