img
:::

เหยียนหย่งเจิน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวมาเลเซีย ส่งเสริมวัฒนธรรมบ้านเกิด ทำหนังสือภาพ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ที่ดัดแปลงมาจากเพลงกล่อมเด็กของชาวมาเลย์

เหยียนหย่งเจิน ผู้เขียนหนังสือ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ที่ได้รับรางวัลพิเศษ เข้าร่วมพิธีรับรางวัล ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)
เหยียนหย่งเจิน ผู้เขียนหนังสือ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ที่ได้รับรางวัลพิเศษ เข้าร่วมพิธีรับรางวัล ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

บรรณาธิการของ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] รู้สึกโชคดีเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ เหยียนหย่งเจิน (嚴永真) ผู้เขียนหนังสือ ‘白鷺啊白鷺’(นกกระยาง อะ นกกระยาง) ที่ได้รับรางวัลพิเศษในการประกวดการส่งเสริมทักษะการทำหนังสือภาพ ประจำปี 2019 ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้มีการดัดแปลงมาจากนิทานกล่อมเด็กของมาเลเซีย ที่มีชื่อเหมือนกันเลย ความพิเศษของหนังสือภาพเล่มนี้ไม่เพียงมีภาพวาดที่หลากหลาย แต่ยังมีจิ๊กซอให้เราได้ต่อ ถือเป็นการนำนิทานกล่อมเด็กมานำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่น่าสนใจเอามาก ๆ

เหยียนหย่งเจิน ผู้เขียนหนังสือ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ที่ได้รับรางวัลพิเศษในการประกวดการส่งเสริมทักษะการทำหนังสือภาพ ประจำปี 2019 ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (顏永真)

เหยียนหย่งเจิน ผู้เขียนหนังสือ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ที่ได้รับรางวัลพิเศษในการประกวดการส่งเสริมทักษะการทำหนังสือภาพ ประจำปี 2019 ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ไต้หวันดึงดูดผู้มีศักยภาพ มท.ได้ปรับปรุงกฎระเบียบกาพำนักอยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานสำหรับ “ชาวต่างชาติที่ไม่มีทะเบียนบ้าน”

เนื้อหาที่ไม่เหมือนใคร

เพลงกล่อมเด็ก ‘白鷺啊白鷺’ (นกกระยาง อะ นกกระยาง) เป็นความทรงจำในวัยเด็กของชาวมาเลเซีย เหยียนหย่งเจิน กล่าวว่า “เพลงกล่อมเด็กนี้พิเศษมาก แตกต่างจากเพลงกล่อมเด็กทั่วไปของไต้หวันและมาเลเซียโดยสิ้นเชิง เพลงนี้จะใช้วิธีการถามคำตอบคำ ตอบโต้กันไปมาถึงความสัมพันธ์ของธรรมชาติ สนุกสนานกันทีเดียว” นี่จึงเป็นเหตุผลที่เธอเลือกเพลงนี้มาเป็นเนื้อหาในการสร้างสรรค์ผลงานสุกล้ำเลิศ

ผลงานปี 2019 หนังสือภาพ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” (ซ้าย) ผลงานปี 2021 หนังสือภาพ “บักกุเต๋ Bak kut teh” (ขวา) ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (顏永真)

ผลงานปี 2019 หนังสือภาพ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” (ซ้าย) ผลงานปี 2021 หนังสือภาพ “บักกุเต๋ Bak kut teh” (ขวา) ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)

จิตรกรรมอย่างพิถีพิถัน

เมื่อเหยียนหย่งเจินต้องการวาดรูปขอนไม้ เขาเลือกใช้ไม้จริงมาประทับลง เพื่อให้ได้ลายเส้นที่ดูสมจริงยิ่งขึ้น เธอพยายามจะทำลายกรอบรูปแบบการสร้างสรรค์ที่ทุกคนทำอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในหนังสือภาพของเธอ เธอยังต้องการที่จะนำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์หลักทั้ง 3 กลุ่มในมาเลเซีย ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวเชื้อสายจีน และชาวอินเดีย และท้ายสุดเธอได้เลือกการแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยเรื่องของ “สี”

“ช่วงปีใหม่ในมาเลเซีย ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีวัฒนธรรมในการมอบซองอั่งเปา คนที่มีเชื้อสายจีนจะมอบซองอั่งเปาที่เป็นสีแดง เพราะคิดว่าสีแดงเป็นสีมงคล แต่ชาวมาเลย์มอบซองอั่งเปาเป็นสีเขียว ในขณะที่ชาวอินเดียจะใช้สีม่วง ซึ่งเรื่องราวความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของคนแต่ละชาติพันธุ์นั้นได้ถูกนำมาถ่ายถอดผ่านหนังสือภาพเล่มนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียเป็นประเทศที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก

เหยียนหย่งเจิน ขณะทำหนังสือภาพ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (顏永真)

เหยียนหย่งเจิน ขณะทำหนังสือภาพ “นกกระยาง อะ นกกระยาง” ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ทาสแมวและทาสสุนัขต้องระวัง! การซื้ออาหารสุนัขและแมวข้ามพรมแดนโดยไม่ขอกักกันอาจถูกปรับหนึ่งล้านเหรียญไต้หวัน

ชีวิตที่ไม่เหมือนใคร

เธอเล่าว่า ในปี 2002 ตัวเองได้พบรักกับสามี และในปี 2006 ตัดสินใจแต่งงานมาอาศัยอยู่ในไต้หวัน ตอนนี้มีลูกชาย 2 คน เธออาศัยอยู่ในไต้หวันเป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว ในปี 2017 เธอได้ใบอนุญาตครูสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ สอนลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และชาวไต้หวันให้เรียนภาษามาเลย์ ฝึกอบรมครูสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นใหม่มากมาย และยังมีส่วนร่วมในการเขียนสื่อการสอนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อีกด้วย

เหยียนหย่งเจิน (แถวที่2 ซ้าย1) เข้าร่วมการฝึกอบรมผู้บรรยายภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในปี 2020 ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (顏永真)

เหยียนหย่งเจิน (แถวที่2 ซ้าย1) เข้าร่วมการฝึกอบรมผู้บรรยายภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในปี 2020 ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)

ปีนี้เธอก็ยังคงมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหนังสือภาพอีกครั้ง สืบเนื่องจากเธอคิดถึงรสชาติอาหารบ้านเกิดของตนเอง ครั้งนี้เธอเลยตั้งใจจะเลือกอาหารเมนู “บักกุเต๋ Bak kut teh” มาเป็นธีมในการสร้างสรรค์ผลงาน เธอกล่าวในตอนท้ายว่า ไม่ว่าตนเองจะได้รับรางวัลหรือไม่นั้นไม่สำคัญ ขอเพียงแค่ให้เธอได้มีโอกาสได้วาดภาพ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก็พอ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรเธอจะตั้งใจทำผลงานออกมาให้ดีที่สุด และจะนำเอาวัฒนธรรมของชาวมาเลเซียมาผสมผสานเข้ากับผลงงาน ให้ผู้คนในไต้หวันได้รับชมและรู้จักมากขึ้น

เหยียนหย่งเจิน (ขวา 5) สอนลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้เรียนรู้ภาษามลายู ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (顏永真)

เหยียนหย่งเจิน (ขวา 5) สอนลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้เรียนรู้ภาษามลายู ภาพจาก/เหยียนหย่งเจิน (嚴永真)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading