img
:::

ทำความรู้จักกับ “โรคไข้เลือดออก” ปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก

ภาพ/นำมาจากเว็บไซต์ Pixabay
ภาพ/นำมาจากเว็บไซต์ Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข” โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค  โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมดมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย สำหรับประเทศไทยเริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 และพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 มีสถานการณ์รุนแรงที่สุดในปี พ.ศ. 2530 โดยขณะนั้น มีรายงานผู้ป่วยสูงถึง 170,000 กว่าราย เสียชีวิต 1,000 กว่าราย

อ่านข่าวเพิ่มเติม: กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเพิ่มงบ “โครงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตสำหรับเยาวชน

ตามข้อมูลจาก “กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข” โรคไข้เลือดออกมีลักษณะที่แปรผันตามฤดูกาล โดยจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นในเดือนเมษายนและสูงสุดในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน เดือนกันยายนจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง แต่หากช่วงปลายปีจำนวนผู้ป่วยไม่ลดลงและยังคงสูงอย่างเห็นได้ชัด อาจทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไปได้

วิธีการติดต่อ  การแพร่กระจายของไวรัสเดงกีอาศัยยุงลายบ้าน และยุงลายสวน เป็นพาหะนำโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยยุงลายเพศเมียดูดเลือดของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีที่อยู่ในระยะที่มีไวรัสในกระแสเลือด โดยทั่วไประยะนี้จะอยู่ในช่วง 2 ถึง 6 วันหลังวันที่เริ่มแสดงอาการ เมื่อยุงลายได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้ระยะเวลาฟักตัวราว 8 – 12 วัน ถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนได้ และเมื่ออีกคนได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลา เฉลี่ย 4 – 7 วัน จึงจะแสดงอาการของโรค โดยในบางรายอาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ไข้เลือดออกไต้หวันระบาดต่อเนื่อง กรมควบคุมโรควอนประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading