img
:::

ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 1 ในด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ต่อเนื่อง 11 ปีซ้อน กระทรวงมหาดไทยจับมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน

ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 1 ในด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ต่อเนื่อง 11 ปีซ้อน กระทรวงมหาดไทยจับมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยกระทรวงมหาดไทยไต้หวันได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันนี้ 1 ก.ย.) โดยมีนายหลั๋ว ปิ่งเฉิง (羅秉成) สมาชิกสภาบริหาร นายเฉิน จ้งเหยี่ยน (陳宗彥) ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายลี่ อิงเจี๋ย (酈英傑) ผู้อำนวยการสถาบันอเมริกันในไต้หวัน นายชิว เฟิงกวง (邱豐光) ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสายการบิน Tiger Airways ไต้หวัน เข้าร่วมงานและปฎิญาณที่จะต่อสู้กับการบังคับใช้แรงงานร่วมกัน

นายเฉิน จ้งเหยี่ยน (陳宗彥)กล่าวว่า ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 1 ในด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ต่อเนื่องถึง 11 ปีซ้อน และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราอาชญากรรมต่ำที่สุดเป็นอันดับสองและดัชนีความปลอดภัยสูงสุดเป็นอันดับสองจากรายงานดัชนีความปลอดภัยของประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยหวังว่าจากการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ของไต้หวันจะสามารถร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันต่อต้านการค้ามนุษย์

นายเฉิน จ้งเหยี่ยน กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่างานในปีนี้จะได้รับผลกระทบจากโรคระบาด เป็นไปไม่ได้ที่แขกชาวต่างชาติจะเข้าร่วมการประชุมได้มากเหมือนปีก่อนๆ แต่โชคดีที่การป้องกันการแพร่ระบาดของไต้หวันประสบความสำเร็จและยังสามารถจัดการประชุมทางกายภาพได้ เป้าหมายหลักของการประชุมเชิงปฏิบัติการในปีนี้คือความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ดังนั้นจึงมีการเชิญตัวแทนฝ่ายบริหารทั้งสองฝ่ายโดยหวังว่าจะเตรียมการป้องกันการค้ามนุษย์ในยุคหลังการแพร่ระบาดให้ดีขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายมีการกำหนดและดำเนินการตามนโยบายติดตามผล

นายหลั๋ว ปิ่งเฉิง (羅秉成) สมาชิกสภาบริหารอธิบายถึงความพยายามของไต้หวันในนโยบายสิทธิมนุษยชนในปีนี้และกล่าวว่าแม้ว่าไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 1 ในด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ต่อเนื่องถึง 11 ปีซ้อน แต่ไต้หวันยังคงไม่ลดละประเด็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยคาดหวังว่าสังคมควรคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและผู้ประกอบการต่างๆ ควรปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องและให้ความสำคัญกับการยอมรับและการปฏิบัติตามแนวคิดของคนทุกคน

กระทรวงมหาดไทยระบุว่าการค้ามนุษย์ของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการใช้แรงงานและการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ โดยเมื่อปีที่แล้ว (2019) จำนวนเหยื่อชาวต่างชาติลดลงเหลือ 92 ราย ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการใช้ "กฎหมายป้องกันและควบคุมการค้ามนุษย์" ในปี 2009 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดในปีนี้ (2020) ส่งผลให้การค้ามนุษย์ระหว่างประเทศก็ลดลงค่อนข้างมากเช่นกัน แต่หน่วยงานต่างๆ ของไต้หวันไม่ได้ลดทอนงานป้องกันและควบคุมการค้ามนุษย์เลยและยังคงแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใหม่หลังจากการสิ้นสุดของการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งวางแผน "ปฏิบัติการต่อต้านการแสวงหาประโยชน์ในปี 2021-2022" เพื่อทำให้งานป้องกันและควบคุมการค้ามนุษย์ดีขึ้นทุกปี

กระทรวงมหาดไทยระบุว่า แรงงานข้ามชาติในไต้หวันมีจำนวนสูงถึง 700,000 คน บางคนไม่คุ้นเคยกับภาษาของไต้หวันและเมื่อพวกเขาถูกเอารัดเอาเปรียบก็อาจจะไม่สามารถแจ้งเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ส่งเสริมความเข้าใจภาษามือขอความช่วยเหลือ" อย่างจริงจังและเป็นครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการได้มีการแปลภาษามือ ส่วนคู่มือการประชุมยังมีภาษาจีน อินโดนิเซีย เวียดนาม และไทยด้วย เพื่อให้เหยื่อมีโอกาสขอความช่วยเหลือมากขึ้น

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกระทรวงมหาดไทยระบุว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการในปีนี้จะพูดคุยใน 4 ประเด็น ได้แก่ "กลยุทธ์โดยรวมในการป้องกันการค้ามนุษย์" "ความปลอดภัยของเหยื่อและการเกิดเริ่มต้นใหม่" "การป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากแรงงาน - ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร" และ "ความท้าทายและความก้าวหน้าในการป้องกันการค้ามนุษย์ในประเทศที่สำคัญ" เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าเจ้าหน้าที่ต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศจะไม่สามารถส่งบุคลากรมาไต้หวันได้

แต่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างประเทศในไต้หวัน บุคลากรจากองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์ต่างเข้าร่วมการประชุมอย่างกระตือรือร้น วิทยากรจากต่างประเทศบางคนมีส่วนร่วมผ่านการบันทึกล่วงหน้าหรือผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

สำหรับวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้าของวิทยากรชาวต่างชาติ 3 คนได้นำมาเปิดในการประชุม ได้แก่คุณเห๋อ เพ่ยจือ (何珮芝) ทนายความชาวฮ่องกง ผู้ได้รับรางวัล "Human Trafficking Hero Award 2020" ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯซึ่งได้ทำการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในฮ่องกง

Luke de Pulford นักพูดชาวอังกฤษ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของมูลนิธิ Arise Foundation และได้แนะนำแนวคิดใหม่ของ "การรับคนเข้าทำงานอย่างมีจริยธรรม" ให้กับผู้ที่มาร่วมการประชุม

มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการสำนักงานอัยการสูงสุดของกระทรวงยุติธรรมของไทยบรรยายถึงสถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบันภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์”

การประชุมในวันนี้ยังมีตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมเอกชนและองค์กรที่ไม่ใช้รัฐบาลเข้าร่วมการประชุม เช่น มูลนิธิ Eden Social Welfare Foundation บริษัทจัดหางานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Fong Chun Formosa Fishery และสายการบิน Tigerair ไต้หวัน อีกทั้งยังได่ร่วมปฎิญาณต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและผู้ประกอบการต่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการต่อสู้กับการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานและต่อต้านการค้ามนุษย์

นายหลั๋ว ปิ่งเฉิง (ซ้าย 4) สมาชิกสภาบริหาร นายเฉิน จ้งเหยี่ยน (ซ้าย 2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายลี่ อิงเจี๋ย (ขวา 3) สถาบันอเมริกันในไต้หวัน และนายชิว เฟิงกวง (ขวา 1) ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเดินทางมาร่วมการประชุมและปฎิญาณที่จะต่อสู้กับการบังคับใช้แรงงานร่วมกัน

การประชุมเชิงปฏิบัติการในปีนี้พูดคุยใน 4 ประเด็น ได้แก่

นายเฉิน จ้งเหยี่ยน ปลัดกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 1 ในด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ต่อเนื่องถึง 11 ปีซ้อน โดยหวังว่าจากการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ของไต้หวันจะสามารถร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันต่อต้านการค้ามนุษย์

นายลี่ อิงเจี๋ย  ผู้อำนวยการสถาบันอเมริกันในไต้หวันกล่าวยืนยันว่าไต้หวันให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading