สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทยได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในหลายด้านระหว่างไต้หวันและไทยมาโดยตลอด รวมทั้งให้ร่วมมืออย่างเต็มที่กับรัฐบาลในการส่งเสริมนโยบายมุ่งใต้ใหม่เพื่อการแลกเปลี่ยนทวิภาคี ซึ่งได้ผลลัพท์ที่ดีในด้านต่อไปนี้:
1.การศึกษา
นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา จำนวนนักเรียนไทยที่เดินทางไปเรียนที่ไต้หวันเติบโตมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากเดิมที่มีจำนวนนักเรียนไทย 1,591 ในปี 2015 เพิ่มขึ้นเป็น 3,236 คน ในปี 2018 และเมื่อปีที่แล้ว (2019) มีจำนวนนักเรียนไทยในไต้หวันถึง 4,001 คน หรือเติบโตขึ้นเกือบ 24% เมื่อเทียบกับปี 2018 แซงหน้ามาเก๊าและสหรัฐอเมริกากลายเป็นอันดับที่ 8 ของนักศึกษาต่างชาติในไต้หวัน
2. การลงทุน
ไต้หวันเป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสามในประเทศไทย ตลอดปี 2019 จำนวนเงินลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยทั้งหมดลดลง 16.2% และมีการปฏิเสธการอนุมัติทั้งหมด 18.6% แต่ในทางกลับกันการลงทุนของไต้หวันในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 233.7% จำนวนที่อนุมัติเพิ่มขึ้น 278.2% โดยจะเห็นได้ว่าการลงทุนของไต้หวันมีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยที่ต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนส่วนใหญ่ก็อยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ที่ประเทศไทยกำลังส่งเสริมอยู่
3.การแพทย์
การรักษาพยาบาลในไต้หวันนั้นมีคุณภาพดี หลังจากรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ตั้งแต่ปี 2016 ก็ทำให้มีจำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางมารับการรักษาทางการแพทย์ในไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางมารับการรักษาทางการแพทย์ในไต้หวันเพิ่มขึ้นจาก 305,045 คนต่อครั้งในปี 2015 (1.59 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน) เป็น 414,369 คนต่อครั้งในปี 2018 (1.71 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน) สำหรับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยนั้นมีราคาแพงกว่าไต้หวัน 4-5 เท่า และด้วยการทดลองใช้มาตรการยกเว้นวีซ่าไต้หวัน ก็ทำให้ชาวไทยเดินทางมารับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ในไต้หวันเพิ่มขึ้นจาก 1,220 คนในปี 2015 เป็น 7,044 คนในปี 2018 หรือเพิ่มขึ้น 477%