img
:::

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเผย 7 รูปแบบ “เพจเฟซบุ๊กปลอม” ที่มิจฉาชีพมักทำมาหลอกลวงประชาชน

ภาพ/นำมาจาก Pixabay
ภาพ/นำมาจาก Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”  เผย 7 รูปแบบ “เพจเฟซบุ๊กปลอม” ที่มิจฉาชีพมักทำมาหลอกลวงประชาชน เพื่อล้วงข้อมูล ล้วงเงินจากบัญชี ดังนี้

1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการระดับสูง เสนอความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบขับขี่ และบัตรประจำตัวประชาชน

2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล และหุ้นพลังงาน เป็นต้น โดยอ้างว่าให้ผลตอบแทนสูงในเวลาสั้นๆ หรือลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมาก  แอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการลงทุน

3.เพจสถาบันการเงิน หรือธนาคารปลอม ชักชวนให้กู้เงิน ปล่อยสินเชื่อ บริการกู้เงินฉุกเฉินในวงเงินสูง โดยอ้างว่า สมัครง่ายอนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ไม่ตรวจสอบเครดิต มีกฎหมาย PDPA คุ้มครอง เป็นต้น มักให้โอนเงินค่ามัดจำ เงินค่าค้ำประกันไปก่อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: รู้ทัน กลโกงมิจฉาชีพ ! ที่มาในรูปแบบ "ผู้ซื้อปลอม" ใช้วาทศิลป์เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย

4.เพจโรงแรม หรือที่พักปลอมในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ หลอกลวงให้โอนเงินเป็นค่าจองที่พัก เงินประกันต่าง ๆ

5.เพจห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าออนไลน์ปลอม หลอกขายสินค้าออนไลน์ โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้า แม้ว่าความเสียหายจะไม่มาก แต่ผู้เสียหายมีจำนวนสูงเป็นอันดับที่ 1

6.เพจหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนปลอม รับสมัครทำงานออนไลน์ มักเป็นงานง่ายๆ กดไลก์ กดแชร์ รีวิวสินค้า ที่พัก กดออเดอร์สินค้าเป็นต้น โดยจะให้โอนเงินเข้าไปในระบบให้เพียงพอก่อนถึงจะทำกิจกรรม หรือทำภารกิจได้ เริ่มแรกได้เงินคืนจริงภายหลังถอนเงินไม่ได้

7.เพจปลอมแอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือบุคคลธรรมดา โดยใช้เหตุการณ์สำคัญๆ เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ กิจกรรม โครงการต่างๆ หลอกลวงรับเงินบริจาค หรือเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากประชาชนผู้ใจบุญ

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ไทย-ไต้หวันจับมือสร้าง “เมืองอัจฉริยะอมตะไทเป” พร้อมอ้าแขนต้อนรับนักลงทุนจากไต้หวันแล้ว !

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading