จากสถิติสาเหตุการเสียชีวิตในปี 2018 พบว่า การหกล้มของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับที่ 2 (25.7 คน ต่อ 10,000 คน) โดยผลการสำรวจสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2018 ของสำนักบริหารการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 3,280 คน พบว่ามี 495 คน (15.5%) เคยหกล้มในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หรือกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุทุกๆ 6 คน จะมี 1 คน ที่มีประสบการณ์หกล้มในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา สำหรับการหกล้มอย่างรุนแรง อาจทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือแม้แต่เสียชีวิตได้ สำนักบริหารการส่งเสริมสุขภาพขอให้ผู้สูงอายุป้องกันการหกล้ม โดยเริ่มต้นจากรายละเอียดเล็กๆ ในระหว่างการดำเนินชีวิต อย่าละเลยอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ รักษาสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย และใช้ยาอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการหกล้ม
นอกจากนี้ ผลการสำรวจสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2018 ยังระบุว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่เคยหกล้มในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการรักษา 264 คน (8.4%) และหลังจากหกล้มและเข้ารับการรักษา มีเพียง 20% ที่เอาใจใส่กับการเพิ่มความปลอดภัยในบ้าน ผู้สูงอายุที่หกล้มบาดเจ็บมากกว่า 60% ไม่ได้ใส่ใจกับการป้องกันการหกล้มในบ้าน สำหรับสถานที่ๆ เกิดการหกล้มมากที่สุดในบ้าน อันดับ 1 คือ ห้องนอน (35.6%) อันดับ 2 ห้องนั่งเล่น (30.8%) และอันดับ 3 ห้องน้ำ (17%)
โดยทั่วไปผู้สูงอายุอาจหกล้มเนื่องจากสาเหตุที่อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกายที่ลดลง (การมองเห็น การได้ยิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว) อาการเจ็บป่วย การใช้ยาระงับประสาท หรือการใช้ยาหลายชนิด
สำนักบริหารการส่งเสริมสุขภาพได้เสนอ 3 มาตรการป้องกันการหกล้ม รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย รวมทั้งการใช้ยาให้ปลอดภัย
- ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์ในการใช้ยา
- ต้องเอาใจใส่สภาพแวดล้อมในบ้าน ต้องสว่าง ระมัดระวังพื้นที่ๆ ลื่น
- ลุกขึ้นยืนอย่างช้าๆ ออกไปข้างนอกต้องดูป้ายให้ดี และเดินอย่างระมัดระวังไม่รีบร้อน
สำนักบริหารการส่งเสริมสุขภาพได้มอบหมายให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทำคู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ (長者防跌妙招手冊) โดยมีเนื้อหาการป้องกันการหกล้มในชีวิตประจำวในชีวิตประจำวัน การปฎิบัติตัวหากเกิดหกล้มและการรักษา การตรวจสอบความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมในบ้าน เป็นต้น โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดคู่มือดังกล่าวได้ที่เวปไซด์สำนักบริหารการส่งเสริมสุขภาพ