เพลงช่วยให้คนจากต่างภาษาต่างสัญชาติได้สื่อสารและแลกเปลี่ยนกัน อู๋ เจิ้นหนาน (吳振南) จัง จุ้นห่าว (張俊浩) หวง เป่ายุน (黃寶雲) หลิ๋ว หยุ๋นหยุ๋น (劉蕓蕓) และหยาง เหว่ยกวง (楊偉光) ชาวมาเลเซีย มีความทุ่มเทในการโปรโมทเครื่องดนตรีกลองแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย-กลองมือ (Hand Drum) ในไต้หวัน โดยอู๋ เจิ้นหนานเชื่อว่า เพลงจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
อู๋ เจิ้นหนาน (吳振南) จัง จุ้นห่าว (張俊浩) หวง เป่ายุน (黃寶雲) หลิ๋ว หยุ๋นหยุ๋น (劉蕓蕓) และหยาง เหว่ยกวง (楊偉光) เป็นชาวมาเลเซีย ตั้งรกรากและทำงานอยู่ในไต้หวันมานานเกิน 20 ปี พวกเขาทุกคนมีความปรารถนาเดียวกันในใจที่จะก้าวข้ามกำแพงภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนกันในด้านดนตรี และให้ไต้หวันได้เห็นความเป็นมาเลเซียซึ่งเป็นบ้านเกิดของพวกเค้า
ในการเฉลิมฉลองของมาเลเซียก็มักจะได้ยินเสียงกลองมือ โดยทั่วไปจะใช้ในการแสดงเปิดงาน และกลองเป็นตัวแทนของเพลงมาเลเซียมากที่สุด อู๋ เจิ้นหนานหวังว่าจะได้ใช้ความเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เพื่อทำการโปรโมทเครื่องดนตรีกลองแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย-กลองมือในไต้หวัน
อู๋ เจิ้นหนานทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะกลองมือและทำการค้นหาเพื่อนชาวมาเลเซียที่มีความชื่นชอบเหมือนกันมาร่วมก่อตั้งคณะกลองมือ Tempo ในบรรดาสมาชิกในคณะทั้ง 4 คน หวง เป่ายุนและหยาง เหว่ยกวงยังเป็นครูสอนภาษามาเลเซียที่โรงเรียนประถมศึกษาด้วย ทำให้ทั้งสองสามารถทำความรู้ด้านกลองมือสอดแทรกไปในระหว่างการสอนภาษามาเลเซียที่โรงเรียน และจากโรงเรียนก็ค่อยๆ ขยายไปยังสถานที่อื่นๆ ด้วย
อู๋ เจิ้นหนานและสมาชิกในคณะได้เข้าร่วมโครงการสานฝันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไต้หวัน โดยทำการก่อตั้งคณะกลองมือมาเลเซียและใช้เวลาว่างร่วมกับสมาชิกโดยเชิญอาจารย์สอนตีกลองมาร่วมกันฝึกฝนการตีกลอง และ จัดกิจกรรมการแสดงเพื่อโปรโมทกลองมือ 2 รอบ โดยหวังว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ได้สื่อสารกับชาวไต้หวันและทำให้รู้จักวัฒนธรรมมาเลเซียมากขึ้น แม้ว่าสมาชิกในคณะจะใช้เวลาและเงินเป็นจำนวนมาก แต่พวกเขาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการทำตามฝัน อู๋ เจิ้นหนานรู้สึกประทับใจที่ได้เห็นเพื่อนๆ มารวมตัวกันเพื่อทำตามความฝัน นอกจากนี้อู๋ เจิ้นหนานและคณะได้วางแผนการพัฒนาคณะกลองมือ โดยหวังว่าในอนาคตจะได้เข้าร่วมแสดงในงานเทศกาลหรืองานด้านศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ที่รัฐบาลจัดขึ้น เชื่อว่าจะสามารถก้าวไปสู่แผนที่วางไว้ได้สำเร็จ