:::

泰國65個省患確診基孔肯雅熱病的病例已達5728例 (中文-泰文)

泰國65個省患確診基孔肯雅熱病的病例已達5728例 (中文-泰文)

泰國65個省患確診基孔肯雅熱病的病例已達5728

พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาแล้ว 5,728 ราย จาก 65 จังหวัด

泰國65個省患確診基孔肯雅熱病的病例已達5728例 (圖/pixabay)

泰國疾病管制署署長SuwanchaiWattanayingcharoenchai醫生表示,根據疾病管制署的數據顯示,2020年在泰國65個省中確診基孔肯雅熱病例已達5728例,但沒有死亡案例發生。最多患者的年齡層分別是25-34歲(17.51%),35-44歲(17.20%)和45-54歲(15.50%)。大多數患者為自由業者23.7%,學生21.3%,農業15.7%。發病率最高的地區是中部地區、北部地區、東北地區和南部地區。每十萬人中發病率最高的五個省是Chanthaburi、UthaiThani、Lamphun、Leoi 和 Trad。

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 5,728 ราย จาก 65 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี (ร้อยละ 17.51) 35-44 ปี (ร้อยละ 17.20) และ 45-54 ปี (ร้อยละ15.50) ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 23.7 นักเรียนร้อยละ 21.3 เกษตรร้อยละ 15.7 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ โดยจากระบบเฝ้าระวังโรค พบจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จันทบุรี รองลงมาคืออุทัยธานี ลำพูน เลย และตราด ตามลำดับ”

 

疾病管制署預計,在此期間,基孔肯雅熱患者的人數將會增加。因為患者遍布泰國的所有地區,而且這段時間是雨季,在大部分的地區都會下雨,積水滯留在各種容器中,變成蚊蟲的滋生地。

กรมควบคุมโรคคาดว่าช่วงนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงทำให้มีฝนตกชุกต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้

 

基孔肯雅病是由白線斑蚊引起的傳染性疾病,一年四季皆為好發季節,尤其是雨季。症狀通常會出現高燒、關節痛、關節腫脹或關節炎、頭痛、眼痛、肌肉酸痛、有皮疹或疲勞。推薦民眾最佳疾病預防方法是家庭內部和外部的環境管理,消除蚊蟲繁殖地,謹記「3保持預防3種疾病的措施」,即為:收集空容器、收集垃圾和處理積水,以預防登革熱、寨卡病毒和基孔肯雅熱。

โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะ สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือข้ออักเสบร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรืออ่อนเพลีย ไม่มีการรักษาเฉพาะ ใช้การรักษาตามอาการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา คำแนะนำสำหรับประชาชนในการป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและนอกบ้าน และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ด้วยมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัดด้วยการทายากันยุง กำจัดยุงในบ้าน และนอนกางมุ้ง

新聞來源 Thai News Agency

ข้อมูลข่าวจาก สำนักข่าวไทย

回到頁首icon
Loading