「新住民全球新聞網」根據「新住民子女教育資訊網」報導,台灣政府為了使新住民及早適應困語言隔間、飲食習慣、風俗文化、年齡差距、教養子女的態度等所形成的差異,因觀念不同所產生誤會、內政部移民署因而於各縣市成立服務站,教育部也推動相關教育服務,例如提供分級識字教育,並鼓勵新住民進入國中小補校及進修學校就讀,以獲得語文基本能力。
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาสำหรับเด็กผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความแตกต่างในด้านภาษา นิสัยการรับประทานอาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนความแตกต่างทางด้วยอายุ และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูก ฯลฯ รัฐบาลไต้หวันได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากทัศนคติคมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทยไต้หวัน จึงได้จัดตั้งสถานีบริการขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วไต้หวัน และกระทรวงศึกษาธิการยังได้มีการส่งเสริมบริการด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดแบ่งชั้นการศึกษาตามระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและโรงเรียนภาคพิเศษ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาขั้นพื้นฐาน
此外教育部還規劃設立新住民學習中心,提供新住民需求之課程,並排除其學習障礙,同時針對新住民可能面臨的困境與問題,提供必要的協助與因應策略,也 學習理解並尊重新住民的文化多樣性、運用文化多重的視角,思考處理跨文化互動的問題。
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังวางแผนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อจัดหลักสูตรตามความต้องการของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ พร้อมทั้งขจัดอุปสรรคในการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็ให้ความช่วยเหลือและวางแผนกลยุทธ์ในการรับมือกับปัญหาที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อาจเผชิญในอนาคต นอกจากนี้ยังเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และใช้มุมมองทัศนคติด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมในการพิจารณาและจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีในวัฒนธรรมที่แตกต่าง
1995年,高雄美濃成立「新移民女性識字班」,藉由提供親職教育課程,鼓勵新住民女性參加工作坊,創造對話空間,分享彼此經驗,建立自信。
ในปีค.ศ. 1995 อำเภอเหม่ยหนง นครเกาสง ได้ก่อตั้ง “ชั้นเรียนสำหรับสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษาการเลี้ยงดูบุตร การสนับสนุนให้สตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าร่วมการฝึกอบรมในเวิร์กช็อปต่าง ๆ การสร้างพื้นที่สำหรับการพูดคุยสื่อสารแลกเปลี่ยน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของกันและกัน ให้พวกเขาสามารถสร้างความมั่นใจในตนเอง
อ่านข่าวเพิ่มเติม:台灣人權促進會秘書長施逸翔 為外籍移工、漁工和難民的權益保障 คุณซืออี๋เสียง เลขาธิการสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติ ลูกเรือประมง ผู้ลี้ภัย
進而積極投入公共事務,並培訓新住民成為分享跨國婚姻歷程的多元文化老師,改變我國社會對新住民的刻板印象,為社會注入多元文化的活泉。
จากนั้นยังมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะอย่างแข็งขัน และฝึกอบรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้เป็นครูพหุวัฒนธรรมร่วมแชร์ประสบการณ์ด้านการแต่งงานข้ามชาติ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติที่คนในสังคมมีต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และพลักดันให้สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น