
ไต้หวันตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเวียดนามเป็นครั้งแรก ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ลักลอบนำเข้ามานี้ได้ไหลเข้าสู่ตลาดและมีการตรวจพบเชื้ออหิวาต์แอฟริกา โดยกองปราบปรามได้ดำเนินการค้นหาช่องทางการกระจายของผลิตภัณฑ์โดยเร่งด่วน ด้านสภาเกษตรฯ ได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรง "ป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร" และกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ไต้หวันต้องปรับปรุงการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างครอบคลุม ผู้คนต่างกังวลว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจะติดต่อไปยังมนุษย์หรือไม่? จะเกิดอะไรขึ้นหากฉันเผลอกินผลิตภัณฑ์จากหมูที่ติดไวรัสโดยไม่ได้ตั้งใจ? ควรจัดการกับเนื้อสัตว์ที่ไม่รู้จักแหล่งที่มาอย่างไร? ดังนั้น "เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่" จึงจัดทำคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องไว้คอยบริการแก่ผู้อ่าน
อหิวาต์แอฟริกาในสุกรสามารถแพร่กระจายได้หลายช่องทางอาทิเช่นจากเศษอาหาร เห็บ สารคัดหลั่งหรือมูลของสุกร ยานพาหนะที่บรรทุกสุกรที่ติดโรคหรือยานพาหนะบรรทุกเศษอาหาร อีกทั้งยังสามารถพบได้ตามซอกของรองเท้าเสื้อผ้าของพนักงาน และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อต่าง ๆ
โดยปัจจุบันอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกัน และยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา สถานเลี้ยงหมูใดตรวจพบอหิวาต์แอฟริกาในสุกรต้องกระทำการการุณยฆาตอย่างเดียว
เพื่อเป้าหมายที่จะป้องกันการแพร่กระจายของอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ทีมพิเศษสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารทานเล่นและร้านค้าสินค้าอาเซียนประชาสัมพันธ์มาตราการ 3 ไม่ พร้อมทั้งแนะนำงดการใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัด
“ไม่” นำผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์มาจากต่างประเทศ
“ไม่” สั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ออนไลน์แล้วส่งกลับไต้หวัน
“ไม่” ซื้อผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำลังอยู่ระหว่างการตรวจค้นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ภายในมีเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรอยู่ โดยเชื้อไวรัสนี้สามารถอยู่ในตู้เย็นได้นานกว่า 1000 วัน เตือนประชาชนงดการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูที่ไม่ทราบแหล่งที่มา อาทิเช่น ขนมเปี๊ยะ แฮม ฮ็อตด็อก และอื่น ๆ ที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ หากพบเบาะแสควรแจ้งมายังสำนักตรวจสอบและกักกันสัตว์และพืช
หากพบเจอผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมูที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ประชาชนสามารถส่งมาตรวจสอบได้ หากต้องการทิ้ง สามารถทิ้งได้ในขยะปกติ หลีกเลี่ยงการทิ้งในทั้งขยะบรรจุเศษอาหารเหลือ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายในฟาร์มปศุสัตว์ หากประชาชนมีการนำเข้าสินค้าหรือสั่งออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อมาจากต่างประเทศที่ไม่ทราบแหล่งที่มาก็แนะนำให้ส่งตรวจเชื้อก่อน
นำเข้าผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อย่างผิดกฎหมายมีโทษปรับสูงสุด 1 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ผ่านออนไลน์มาไต้หวัน มีโทษสูงสุดจำคุก 7 ปีและปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท เตือนมายังประชาชน ห้ามนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อเข้ามาในไต้หวัน และหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์จากหมูที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัดเข้ามาในไต้หวัน มิฉะนั้นจะโดนปรับ