อัตราความชุกของ"โรคสมาธิสั้น"ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 5 – 12 %ซึ่งในประเทศไทยพบจำนวนเด็กที่มีอาการโรคสมาธิสั้นอยู่ประมาณร้อยละ 5 – 8% นั่นหมายความว่า ถ้าในห้องเรียนหนึ่งห้องมีเด็กอยู่ 40 คน แต่ละห้องจะมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นอย่างน้อย 2- 4 คน
โดยพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เพราะเด็กผู้ชายมักจะมีอาการซนอยู่ไม่นิ่ง คุณครูมักจะสังเกตเห็นอาการได้ชัดเจนตั้งแต่ชั้น ป.1- ป.2 เด็กมักจะป่วนเพื่อนในห้องเรียน อาจรบกวนการสอนของครู แต่เด็กผู้หญิงมักจะเป็นอาการชนิดเหม่อ ใจลอย ขี้หลงขี้ลืม ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จการรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา การปรับพฤติกรรม การปรับวิธีการเลี้ยงดู และการดูแลช่วยเหลือในห้องเรียน หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น ขอให้รีบพามาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ เด็กที่มีอาการโรคสมาธิสั้นที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสที่จะหายขาดเพิ่มขึ้น/PickPik
พัฒนาการของเจ้าตัวเล็กลูกของเราบางครั้งอาจบ่งบอกความผิดปกติได้ พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงต้องหมั่นสังเกตและอย่าปล่อยผ่านเมื่อเกิดความสงสัย โดยเฉพาะโรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ดังนั้น หากรู้เท่าทันและรักษาได้ทันท่วงทีย่อมช่วยให้อาการของลูกดีขึ้นและเติบโตได้อย่างมีความสุข
การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา การปรับพฤติกรรม การปรับวิธีการเลี้ยงดู และการดูแลช่วยเหลือในห้องเรียน หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น ขอให้รีบพามาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ เด็กที่มีอาการโรคสมาธิสั้นที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสที่จะหายขาดเพิ่มขึ้น
เมื่อผ่านวัยรุ่น มักจะพบว่า ประมาณ 30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติโดยไม่ต้องรับประทานยาต่อไป ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่งถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลงและมีความสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วบางคนหากสามารถปรับตัวและเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็มีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มากซึ่งจะมีผลเสียต่อการศึกษา การงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง