img
:::

ศบค.เผยผลหารือกระทรวงสาธารณสุขเตรียมให้กลับมาเรียนในห้องตามปกติ ไม่ต้องสลับวันมาเรียน

ศบค.เผยผลหารือกระทรวงสาธารณสุขเตรียมให้กลับมาเรียนในห้องตามปกติ ไม่ต้องสลับวันมาเรียน

เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า มาตรการผ่อนคลายโควิด-19 ที่มีการหารืแนั้น คือ 1. การใช้รถโดยสารสาธารณะ ที่ยังต้องเว้นระยะห่าง กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม รายงานว่า มาตรการต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งการเดินทาง การจองตั๋วล่วงหน้า พนักงานขับรถสวมหน้ากากอนามัยตลอดทาง ส่วนการกำกับดูแลมีการประเมินที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร และชุดเช็กพอยต์ 99 จุด ทุก 90 กิโลเมตร ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งการประเมินระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.- 19 ก.ค. นั้น มีการสวมหน้ากากผ้า 99.7% มีเจลล้างมือ 98.22% การเว้นระยะห่าง 99.97% และการมีคิวอาร์โคด 98.74% ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนร่วมประเมินด้วย
2. สถานศึกษา ซึ่งจากการเปิดเรียนมาร่วม 1 เดือน ยังไม่มีการติดเชื้อโควิด-19 เลย ซึ่งตอนแรกกังวลใจว่า การใกล้ชิดระหว่างเรียนและเล่นที่โรงเรียนอาจติดโรคกันได้ ทั้งนี้ กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อต่ำ ในประเทศมี 1-6% โดยอายุ 0-9 ปี ติดเชื้อแค่ 62 ราย คิดเป็น 1.9% จากผู้ป่วยทั้งหมด กลุ่มอายุ 10-19 ปี ติดเชื้อ 126 ราย ติดเป็น 3.87% ไม่เคยมีรายงานติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน สาเหตุนั้นนักวิชาการระบุว่า ในโพรงจมูกที่จะตัวรับเชื้อของเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ โอกาสรับเชื้อในเด็กจึงน้อยไปด้วย จึงไม่ค่อยเห็นเด็กติดเชื้อ แต่ปัญหาคือเด็กรับเชื้ออาจเอาเชื้อที่สัมผัสไปผู้ใหญ่ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย จึงต้องมีการป้องกัน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม มาตรการผ่อนคลายในสถานศึกษาจะเร็วขึ้นได้หรือไม่ ขณะนี้มี 4,528 โรงเรียน ต้องใช้สลับวันเวลากันมาเรียนในหลายรูปแบบ ทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ทั้งการเรียนรู้ของเด็กถดถอย การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เหลื่อมล้ำการเข้าถึงทรัพยากร โภชนาการ การออกจากการเรียนกลางคัน ผู้ปกครองเสียเวลามาเฝ้าเด็ก จากการประชุมร่วมกันของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ คือ จะให้นักเรียนกลับไปเรียนตามปกติ แต่จะต้องมีมาตรการเสริมเข้มข้นขึ้น โดยจัดห้องเรียนให้โต๊ะห่างมากสุดเท่าที่จะทำได้ กรณีห้องแอร์ให้เปิดประตูหน้าต่างช่วงพักเที่ยง ช่วงไม่มีการเรียนการสอน กำกับโดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุขของพื้นที่ ซึ่งมีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด อำเภอ ตำบล ดูแลเป็นลำดับขั้นลงไป
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กรมอนามัยได้เข้าไปตรวจประเมินหลังเปิดภาคเรียน จำนวน 25,140 โรง พบว่า สถานศึกษามีมาตรการความปลอดภัยจากการแพร่เชื้อโรค 99.47% มีไม่ครบ 0.53% หรือ 132 แห่ง ได้แนะนำให้ปรับปรุง ส่วนเด็กที่ป่วยพบรายงาน 687 คน แต่ไม่ใช่โควิด เป็นไข้ ไข้หวัด ซึ่งถือว่าน้อยมาก เพราะปกติจะมีการป่วยเยอะ ซึ่งมาจากมาตรการสวมหน้ากากผ้าหน้ากากอนามัย โดยโรงเรียนมีแผนการรองรับ 96% เช่น เด็กติดเชื้อ 1 คน ในโรงเรียนนั้นจะทำอย่างไร จะปิดเลยหรือไม่ หรือปิดเฉพาะห้อง หรือทั้งชั้น ซึ่งจากกรณี จ.ระยอง คนติดเชื้อไปห้าง แล้วเห็นนักเรียนตัวเองมาเดินจึงปิดไป 200 กว่าโรง มองแล้วมากไป ถ้าตั้งแผนเผชิญเหตุ ถ้าติดเชื้อในโรงเรียนจะปิดอย่างนี้หรือไม่ ต้องมีมาตรการจัดการแตกต่างกันไป

ข้อมูลข่าวจาก กรมประชาสัมพันธ์

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading