img
:::

ไต้หวันเวียดนามต่างเป็นบ้านของฉัน อู๋เพ่ยเจินผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 อุทิศตนในระบบดูแลระยะยาว

ภาพนำมาจาก : อู๋เพ่ยเจิน (吳沛臻)
ภาพนำมาจาก : อู๋เพ่ยเจิน (吳沛臻)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

“ครั้งหนึ่งทางโรงเรียนจัดสอบชิงทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส สิ่งที่ทำให้ฉันแปลกใจคือ หนึ่งในผู้มีสิทธิ์สอบรวมถึงบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ด้วย ดูเหมือนว่าสังคมทั่วไปยังคงมีภาพจำที่ว่าผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาส” อู๋เพ่ยเจิน (吳沛臻) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวเวียดนามรู้สึกประหลาดใจมากที่ทุกคนยังคงมีภาพจำเดิม ๆ แบบนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เธอใช้การกระทำของตนเองมาเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 จากเดิมที่เป็นเพียงคำนาน พยายามทำให้เป็นคำกริยา ใช้การกระทำมาเป็นแรงขับเคลื่อน

อู๋เพ่ยเจิน อายุเพียง 21 ปีเท่านั้น เดิมเรียนพยาบาลเพราะคนในครอบครัวของเธอสุขภาพไม่ดี ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนขณะเรียนอยู่ชั้น ปวส. ปีที่ 5 เธอได้ไปฝึกงานที่สถาบันดูแลระยะยาว เมื่อถึงวันสุดท้ายของการฝึกงาน ตอนที่ต้องบอกลาทุกคนที่นั่น ยายคนหนึ่งอดที่จะร้องไห้ไม่ได้ “คุณยายบอกว่า คงมีแต่พวกเธอเท่านั้นแหละที่จะยอมมาดูแลพูดคุยกับพวกเขา ตอนนั้นฉันรู้สึกสับสนกับความรู้สึกของตนเองจริงๆ”

อู๋เพ่ยเจินได้มีโอกาสไปเห็นเหตุการณ์จริงที่กำลังดูแลของเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ระบบการดูแลระยะยาวไม่สามารถเคียงข้างหรือดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง ทำให้เขารู้สึกอยากจะเป็นอีกแรงในการช่วยดูแลตรงนี้ อาศัยเวลาว่างมาคอยช่วยเหลือเคียงข้างคนสูงอายุ หวังว่าพวกเขาจะไม่รู้สึกเหงาหรือโดนทอดทิ้ง ถึงขั้นตั้งปณิธานกับตนเองว่า ในอนาคตจะสามารถเปิดสถานที่ดูแลระยะยาวสักแห่งเป็นของตัวเอง “ฉันหวังว่าตนเองจะเป็นอีกแรงที่สามารถช่วยเหลือระบบดูแลระยะยาวนี้ ช่วยเท่าที่ตนเองจะสามารถช่วยได้ ในแง่หนึ่ง ก็เพื่อการลงทุนในระบบการดูแลระยะยาว อีกแง่ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ดูแลให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด”

ครั้งหนึ่งเมื่อฉันมีโอกาสเดินทางกลับไปที่เวียดนาม ฉันได้ยินคุณยายคุยกันกับคุณป้าว่า “เขา (หมายถึง อู๋เพ่ยเจิน) เป็นคนไต้หวัน เขาฟังไม่รู้เรื่องหรอก ไม่ต้องไปอธิบายให้เขาฟังหรอก” ภายในใจของฉันรู้สึกสับสนวุ่นวายไปหมด “ที่แท้ในสายตาของคุณยายเขาไม่ได้คิดว่าฉันเป็นคนเวียดนาม เขาไม่ได้คิดว่าฉันเป็นคนพวกเดียวกันกับเขาเลย ขณะนั้นฉันตัดสินใจที่จะเรียนภาษาเวียดนาม เมื่อกลับมาที่ไต้หวัน ฉันก็เริ่มตั้งใจเรียนภาษาเวียดนามอย่างจริงจัง”

ในปีต่อมา เธอเดินทางกลับไปที่เวียดนาม เธอใช้ภาษาเวียดนามสนทนาเรื่องราวชีวิตประจำวันกับญาติ ๆ การสนทนาของเธอไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป ตอนนั้นคุณป้ายังได้พูดกับคุณยายอีกว่า “นี (ชื่อภาษาเวียดนามของฉัน) เขาพูดภาษาเวียดนามได้เก่งมาก ตอนนี้เขาเป็นคนเวียดนามแล้ว” อู๋เพ่ยเจินได้ยินดังนั้นดีใจสุด ๆ ในตอนนั้น เธอตระหนักว่า ตนเองไม่ได้เป็นเพียงผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ของไต้หวันเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นคนเวียดนามด้วย

ทุกวันนี้ ตอนกลางวันเธอไปเรียนหนังสือ ถึงตอนกลางคืนทำงานเป็นพยาบาล ในอนาคตเธอหวังจะใช้สถานะที่หลากหลายและความโดนเด่นทางด้านภาษาของตนเองช่วยเหลือระบบการดูแลระยะยาว ตอบแทนแผ่นดินที่เลี้ยงดูเธอมาจนโต “สำหรับฉันแล้ว เมื่อได้เกิดกายเนื้อมาเป็นคน ก็ไม่ควรมีข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น ขอเพียงแค่เห็นด้วยกับพื้นแผ่นดินนี้ วันนี้ไม่ว่าฉันจะมีสัญชาติเป็นอะไร ต่างเป็นของทุกคนทั้งนั้น ฉันรักไต้หวันบ้านเมืองที่เลี้ยงฉันให้เติบใหญ่ ฉันรักในเวียดนามบ้านเมืองผู้ใหญ่กำเนิดฉัน ขาดที่ใดที่หนึ่งไป ก็ไม่สามารถสร้างฉันให้เป็นอย่างวันนี้ได้”

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading