img
:::
ข่าวทั่วไป

“ข้าวหลามอบโอ่ง” เกษตรกรปลูกไผ่ จึงคิดต่อยอดพึ่งตนเอง

ภาพนำมาจาก Wikimedia
ภาพนำมาจาก Wikimedia

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] “ข้าวหลามอบโอ่ง” ของนายเปลื้อง ช่วยรุย เกษตรกรอำเภอห้วยยอด วัย 52 ปี ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานลงแขกเกี่ยวข้าวพันธุ์พื้นเมืองจัดขึ้นที่แปลงนา หมู่ 5 ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้สัมผัสกลิ่นหอมของข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองผสมกับน้ำกะทิ ถั่ว และไม้ไผ่ เอามาโชว์เกือบ 100 กระบอกหมดเกลี้ยงในพริบตา นับเป็นข้าวหลามอบโอ่งรายแรกในจังหวัดตรัง

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : 1 มี.ค ยกเลิกให้ชุดตรวจ ATK แก่นักเดินทางที่เดินทางเข้าไต้หวันและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน

นายเปลื้อง เล่าว่าได้แนวคิดจากตอนเด็กไปเที่ยวงานประจำปีของจังหวัดตรัง เห็นคนแก่ขายข้าวหลามในงาน ซึ่งตนอยู่ในกลุ่มเกษตรกรปลูกไผ่ จึงคิดต่อยอดพึ่งตนเอง เกิดแนวคิดทำข้าวหลามอบโอ่ง ซึ่งการอบโอ่งทำให้ไม่มีควันไฟ ประหยัด กลิ่นหอม และไม่ร้อนขณะปฏิบัติงาน ง่าย และสะดวกดี ลูกค้าได้สัมผัสครบทั้งตา หู กาย จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เข้าถึงง่ายอยากลองชิม โดยคนตรังนิยมกินข้าวหลามมาก และเป็นเมืองท่องเที่ยว ข้าวหลามอบโอ่งใช้ถ่านเพียงเล็กน้อยก็สามารถหลามข้าวหลามได้ 3 กิโลกรัม หรือกว่า 20 กระบอก ลองทำแจกเพื่อนบ้านมา 4-5 ปีแล้ว

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ลาตรวจครรภ์ไม่ถือเป็นการลาป่วย แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ลาคลอด ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้

นายเปลื้อง เป็นเกษตรกรปลูกไผ่หลากหลายสายพันธุ์บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ เดิมขายเฉพาะต้นไผ่กับหน่อไม้ เมื่อเห็นชาวตรังชอบกินข้าวหลามและมีขายในงานเทศกาลทุกงานทุกคนจะซื้อติดมือกลับบ้าน จึงใช้ไผ่ที่ปลูกคือไผ่ข้าวหลามกาบแดง, ไผ่กิมซุงและไผ่สีสุก นำโอ่งมังกรที่บ้านมาเจาะรู เพื่อระบายอากาศเล็กน้อย ใช้เตาถ่านอยู่ด้านล่างสุดของโอ่ง อบด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม ดูสีของกระบอกไม้ไผ่ เป็นหลัก สามารถอบข้าวหลามได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 กระบอก ในเวลา 1 ชั่วโมงเศษ การอบโอ่งแทนการเผาข้าวหลามแบบเผาลานยังไม่เสี่ยงไฟไหม้ไปติดพื้นที่ข้าง ๆ ขนย้ายสะดวก และยังนำอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น หมู ปลา ไก่ เนื้อ และอื่น ๆ ไปอบในโอ่งได้ด้วย ข้าวหลามอบโอ่งนี้จะรวมกันในชุมชนผลิตเป็นสินค้าโอทอปส่งขายสร้างรายได้เพิ่ม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading