มาทำความรู้จัก E-waste กัน ตามข้อมูลจาก “ไทยรัฐออนไลน์” ระบุว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste หรือ E-waste) หรือที่เรียกกันว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) หมายถึง ซากเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน (Off-spec) หรือหมดอายุการใช้งานหรือล้าสมัย ซึ่งซากอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกทิ้งเป็นขยะ หรือส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของเก่า รถรับซื้อของเก่า ที่จะได้นำไปคัดแยกชิ้นส่วน และนำไปกำจัดต่อไป ปัจจุบันทั่วโลกมีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกกฎหมาย ประมาณ 20% เท่านั้น ที่เหลืออีก 80% มักจะถูกนำไปเผา หรือฝังกลบ และถูกส่งไปยังประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนา เพื่อคัดแยกพลาสติกและโลหะมีค่านำไปขาย โดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องของสุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะมีปรอท ตะกั่ว ฯลฯ ซึ่งเป็นโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ เมื่อนำไปฝังกลบ สารเคมีที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกปนเปื้อนลงในดิน แหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ เพราะตะกั่วมีพิษทำลายระบบประสาท ระบบโลหิต การทำงานของไต ระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ แต่หากนำไปกำจัดด้วยการเผา ก็จะมีกลิ่นเหม็นไหม้ ก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ สารไดออกซิน และฟิวแรน นอกจากเป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อมแล้ว หากมีการสูดดมสารพิษเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาจสะสมในร่างกาย จนเกิดอันตรายได้อีกด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่แซวกันสนั่นโซเชียล ! ป้ายสีแดงหน้าร้านค้า อีกหนึ่งเรื่องตลกๆ ในไต้หวัน
ตามข้อมูลจาก “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)” การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ร่วมโครงการคนไทยไร้ "E-Waste" เชิญชวนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จุดรับทิ้ง เพื่อลดมลพิษโดยนำไปจัดการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณ โถงชั้นล่าง (หน้าทางเข้าโรงอาหาร) ตึก LED สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกล้วยดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่า