รัฐบาลเมืองนิวไทเปไม่ละเลยความพยายามในการศึกษาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ โดยมีการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนขั้นพื้นฐาน, โรงเรียนกวดวิชา ไปจนถึงศูนย์การเรียนรู้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่, โปรแกรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย, การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สนับสนุนการสอน และหลักสูตรการแปล เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตการทำงานหรือการดำรงชีพในเมืองนิวไทเปได้อย่างสงบสุข นอกจากนี้ สำนักงานการศึกษายังจัดหาทรัพยากรที่เป็นมิตรและบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในเมืองนิวไทเปสามารถมีความสุข และประชาชนสามารถแบ่งปันเรื่องราวชีวิตคู่ที่น่าสนใจของพวกเขาได้
อ่านข่าวเพิ่มเติม : สู้โรคระบาดไปด้วยกัน! กรมตรวจคนเข้าเมืองของสถานีเจียอี้ "การสนับสนุนหลายภาษา" แรงงานข้ามชาติเวียดนามยกย่อง
หลี่ลาเช่เวย จากประเทศไทยแบ่งปันเรื่องราวชีวิตการแต่งงาน ภาพจาก/รัฐบาลเมืองนิวไทเป
หลี่ลาเช่เวย (李拉雀薇) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากประเทศไทย กล่าวว่า ฉันรู้จักสามี เพราะสามีของฉันเป็นนักธุรกิจชาวไต้หวันที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ตอนนั้นเขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และทั้งสองฝ่ายสื่อสารเป็นภาษาไทยผสมกับภาษาอังกฤษ หลังจากแต่งงาน ทั้งสองได้อพยพจากประเทศไทยมายังไต้หวัน หลังจากมีลูก หลี่ลาเช่เวย ได้เข้าเรียนในชั้นเรียนภาษาจีน จนกระทั่งเข้าร่วมในหลักสูตรล่ามการสอน ผ่านการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ศูนย์วัฒนธรรม ตอนนี้เธอทำหน้าที่เป็นล่ามในกรมตรวจคนเข้าเมืองและช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องชาวไทย ในการแก้ปัญหาการดำรงชีวิตในไต้หวัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม : โรคระบาดคลี่คลาย! เมืองทั่วทั้งไต้หวัน “ปลดล็อคบางส่วน” เฉพาะสถานที่นี้เท่านั้นที่ใช้บริการภายในได้
อ้ายซันนี่ จากชิลีกำลังเรียนภาษาจีน เพื่อปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตในไต้หวัน ภาพจาก/รัฐบาลเมืองนิวไทเป
อายซันนี่ (艾珊妮) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากชิลี กล่าวว่า สามีของเธอมาทำธุรกิจที่ชิลีเมื่อ 6 ปีที่แล้ว และทั้งสองได้พบกัน หลังจากที่ทั้งสองตกหลุมรักกัน พวกเขาก็ย้ายมาไต้หวันและแต่งงานกัน เมื่อฉันมาถึงไต้หวันครั้งแรก ฉันไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่นี่เลย ต่อมา ด้วยกำลังใจของสามีและลูกสาว ฉันก็เอาชนะ พร้อมยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง และกระตือรือร้นในการเรียนรู้ภาษาจีน ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไต้หวัน ฉันยังเข้าร่วมในหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ เช่น ชั้นเรียนภาษาจีน โรงเรียนสอนพิเศษ ศูนย์วัฒนธรรมและการศึกษานานาชาติ เป็นต้น เพื่อปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
การแต่งงานในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะนำพาคู่สมรสข้ามความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมแล้ว ยังจำเป็นต้องช่วยเหลือ เช่น การเรียนภาษาจีน การเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง หรือการเข้าสู่สังคมที่ทำงาน ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายเต็มใจที่จะใช้เวลาดูแลครอบครัว อุปสรรคด้านวัฒนธรรมและภาษาก็อาจผ่านไปได้อย่างง่ายดาย แล้วการแต่งงานที่มีความสุขก็ก่อตัวขึ้นได้ ครอบครัวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องเจอกับเรื่องราสวอุปสรรคต่างๆ มากมาย ช่างเป็นที่น่านกย่องยิ่งนัก