img
:::

ฤดูร้อนทำกิจกรรมกลางแจ้งต้องระวัง แนะ 3 เคล็ดลับ ป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บจากความร้อน

ฤดูร้อนทำกิจกรรมกลางแจ้งต้องระวัง  แนะ 3 เคล็ดลับ ป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บจากความร้อน

จากการพยากรอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาไต้หวันระบุว่า ในช่วงนี้อุณหภูมิกลางแจ้งในฤดูร้อนของไต้หวันสูงกว่า 36 องศาเซลเซียสและบางครั้งสูงถึง 39 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ก็ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากความร้อนที่เข้าพบแพทย์มีจำนวนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันขอให้ประชาชนปฎิบัติตาม 3 เคล็ดลับ เมื่อออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงวันหยุดฤดูร้อน “ดื่มน้ำทดแทน เลือกสถานที่และเวลาที่เหมาะสม และใช้มาตรการป้องกันแสงแดดส่วนบุคคล” และใส่ใจกับความปลอดภัย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสามารถเพลิดเพลินสนุกสนาน สุขภาพดี และไม่เกิดการบาดเจ็บจากความร้อน

[สามเคล็ดลับสำหรับการป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน ] : ดื่มน้ำทดแทน เลือกสถานที่และเวลาที่เหมาะสม และใช้มาตรการป้องกันแสงแดดส่วนบุคคล

ดื่มน้ำทดแทน:

1.ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมในระดับใดก็จะต้องดื่มน้ำทดแทนอยู่บ่อยๆ ไม่ต้องรอจนกว่าจะกระหายน้ำแล้วค่อยดื่ม คุณควรพัฒนานิสัยที่ดีของการดื่มน้ำอย่างน้อยวันล่ะ 2,000 ซีซี อย่างไรก็ผู้ที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ถึงบริมาณการดื่มน้ำที่จำกัดก็ควรสอบถามว่าสามารถดื่มได้มากแค่ไหนเมื่ออากาศร้อนจัด

2.คนงานหรือนักกีฬากลางแจ้งควรดื่มน้ำเปล่าที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 2-4 แก้วต่อชั่วโมง (1 แก้ว 240 ซีซี) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์

3.ทานผลไม้มากๆ เนื่องจากผลไม้มีปริมาณน้ำที่มาก

4.ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือบริมาณน้ำตาลที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น

5.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นเกินไป ควรดื่มน้ำที่อุณหภุมิห้อง เพราะอาจทำให้ไม่สบายท้องได้

เลือกสถานที่และเวลาที่เหมาะสม:

1.เลือกช่วงเวลาที่เย็นกว่าหรือสถานที่ใต้ร่มเงาต้นไม้เพื่อทำกิจกรรมกลางแจ้ง

2.หลีกเลี่ยงช่วงเวลา 10.00-14.00 น. ที่มีแสงแดดที่ร้อนระอุ

3.นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมง

4.หากคุณรู้สึกปวดหัวเล็กน้อย สับสน อ่อนแรงจะเป็นลม ให้รีบหาที่ที่เย็นสบายหรือพักในที่เย็น ๆ โดยเร็วที่สุด

ใช้มาตรการป้องกันแสงแดดส่วนบุคคล:

1.สวมเสื้อผ้าสีอ่อนเนื้อบางเบาใส่หลวม ๆ และเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศ ซึมซับน้ำหรือดูดซับเหงื่อได้ดี

2.กางร่ม ใสแว่นตากันแดดสวมหมวกบังแดดที่โปร่งสบาย และทาครีมกันแดด

3.พยายามหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน

 

นายหวัง อิงเหว่ย (王英偉) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพเตือนว่า เมื่อพบว่าตัวเองหรือคนรอบตัวแสดงอาการสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บจากความร้อน เช่น อุณหภูมิของร่างกายที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิวแห้งและเปลี่ยนเป็นสีแดง หัวใจเต้นเร็ว กรณีรุนแรงจะไม่มีเหงื่อออกปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เกิดความสับสน เป็นตะคริว และหมดสติได้ ขอให้นำตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว พยายามลดอุณหภูมิของร่างกาย (ปลดเสื้อผ้าให้หลวม เช็ดตัวด้วยน้ำหรือใช้พัดลมเป่า เป็นต้น) ดื่มน้ำเย็นที่ผสมเกลือเล็กน้อย หรือเครื่องดื่มเกลือแร่เจือจาง ถ้าอุณหภูมิของร่างกายยังคงเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาเจียนหรือหมดสติ โปรดพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ฤดูร้อนทำกิจกรรมกลางแจ้งต้องระวัง  แนะ 3 เคล็ดลับ ป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บจากความร้อน (ภาพจาก สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพ)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading