img
:::

พยาบาลผู้ประสานงาน เบื้องหลัง“บริจาค”อวัยวะ

พยาบาลผู้ประสานงานบริจาคอวัยวะ” ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ปิดทองหลังพระ
พยาบาลผู้ประสานงานบริจาคอวัยวะ” ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ปิดทองหลังพระ

ในประเทศไทย แม้ว่าจะมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะกว่าปีละ 50,000 ราย แต่ส่วนใหญ่การเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากภาวะสมองตาย หรือมีข้อห้ามทางการแพทย์ในการบริจาคอวัยวะ เช่น การเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้น หรืออวัยวะได้รับบาดเจ็บ ทำให้ไม่สามารถนำอวัยวะไปใช้ปลูกถ่ายได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะที่นำไปปลูกถ่ายหรือทำงานได้ไม่ดี เช่น ขนาดของอวัยวะ อายุของผู้บริจาค ระยะเวลาขาดเลือดของอวัยวะ รวมถึงความแตกต่างของเนื้อเยื่อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่รอการบริจาคอวัยวะอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รอไตซึ่งเป็นอวัยวะที่ขาดแคลนที่สุด                         ไตเป็นอวัยวะที่มีผู้ต้องการรับบริจาคมากที่สุด

ปัจจุบัน สภากาชาดไทยกำลังอยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติการบริจาคอวัยวะ ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ กรณีที่ผู้บริจาคแสดงความจำนงไว้ก่อนเสียชีวิตว่า เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้บริจาคมีภาวะสมองตาย สามารถดำเนินการบริจาคได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากญาติ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มจำนวนผู้บริจาค แม้ว่าการบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคเพียงรายเดียวจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ถึง 8-9 คน งาน World Transplant Month 2024 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม ภายใต้แคมเปญ “Give LIFE Get LIVES: สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบริจาคอวัยวะและเพิ่มจำนวนผู้แสดงความจำนงบริจาคในประเทศไทย

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading