img
:::

ร้อนตับแตก! 4 เทคนิคสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและทำงานกลางแจ้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน

ร้อนตับแตก! 4 เทคนิคสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและทำงานกลางแจ้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน

จากการพยากรอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของไต้หวันจะมีเมฆมากถึงอากาศแจ่มใส และพื้นที่บางส่วนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองในช่วงบ่าย ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงและชื้น ผู้ที่อยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง ชาวประมง เกษตรกร และนักกีฬา เป็นต้น มักจะทำงานหรือกิจกรรมภายใต้ดวงอาทิตย์ ความชื้นที่เพิ่มขึ้นในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิที่สูงจะมีผลต่อประสิทธิภาพการขับเหงื่อของร่างกายและการกระจายความร้อนก็จะลดลง หากไม่มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมทันเวลาอาจทำให้เป็นลมแดดและเกิดอาการอ่อนเพลียจากความร้อนได้

สำหรับผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง นายหวัง อิงเหว่ย (王英偉) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันเตือนหน่วยงานต่างๆ ว่า สามารถเข้าไปดู “ระดับความเสี่ยงอันตรายจากความร้อนของสถานที่” บนเว็บไซต์ข้อมูลการเตือนอันตรายจากความร้อน (熱危害預警行動資訊網) ของกระทรวงแรงงานไต้หวัน และปฏิบัติตาม 4 มาตรการต่อไปนี้เพื่อป้องกันไม่ไห้เกิดการบาดเจ็บจากความร้อน โดยการใช้มาตรการป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ:

1. ดื่มน้ำทดแทนในเวลาที่เหมาะสม

  1. ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมในระดับใดก็ควรดื่มน้ำบ่อยๆ ไม่ต้องรอจนกว่าคุณจะกระหายน้ำ
  2. ให้ความสนใจกับปริมาณปัสสาวะและสี หากปริมาณปัสสาวะลดลงและสีเข้มขึ้นแสดงว่าร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2. ให้ความสนใจกับอุณหภูมิและความชื้นของสภาพแวดล้อมการทำงานและสภาพร่างกายคนรอบข้าง

  1. จับตาดูการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอุณหภูมิและความชื้น
  2. ให้ความสนใจกับเวลาทำงานและหลีกเลี่ยงการทำงานในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด
  3. จัดให้มีร่มเงาในสภาพแวดล้อมการทำงาน ใช้ฉนวนกันความร้อนและอุปกรณ์ระบายอากาศ และสร้างสถานที่พักผ่อนที่เย็นสบาย
  4. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ปิดทึบ และรักษาการไหลเวียนของอากาศ
  5. ใช้ระบบการทำงานเป็นกะในช่วงเวลาที่ร้อนเพิ่มเวลาพักผ่อนและความถี่ให้มากที่สุด รวมทั้งให้ความสนใจกับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา

3. ใช้มาตรการป้องกันแสงแดดส่วนบุคคล

  1. ชุดทำงานพยายามสวมแบบหลวมระบายอากาศและสีอ่อน
  2. ใช้มาตรการป้องกันแสงแดดที่เหมาะสม สวมหมวกกันแดดที่ระบายอากาศได้ดีและแว่นตากันแดด
  3. พยายามหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดร้อนหรือหม้อไอน้ำที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน

4. ให้ความใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง

  1. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังควรให้ความสนใจว่าการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรือความชื้นสูงนั้นเหมาะสมหรือไม่
  2. ผุ้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรือความชื้นสูง ควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนการจ้างงานและตรวจสุขภาพเป็นประจำในระหว่างการทำงาน
  3. เสริมสร้างความตระหนักในตนเองและเข้าใจถึงอาการของการบาดเจ็บจากความร้อน
  4. คุ้นเคยกับการแจ้งการบาดเจ็บจากความร้อนและวิธีการจัดการฉุกเฉิน
  5. ให้ความสนใจกับการใช้ยาที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคลมแดด รวมถึงยาที่เพิ่มการผลิตความร้อน (เช่น thyroxine) หรือเพิ่มการสูญเสียน้ำ (เช่นยาขับปัสสาวะ)

 

สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพเตือนว่า เมื่อร่างกายของคุณมีอาการบาดเจ็บจากความร้อน เช่น อุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้นผิวหนังที่แห้งและร้อนแดง และการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่รุนแรงจะไม่มีเหงื่อออก ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียนหรือแม้แต่เกิดความสับสน เป็นตะคริว และหมดสติ ให้รีบนำตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงทันที และใช้วิธีการลดอุณหภูมิ (เช่น ปลดเสื้อผ้า เช็ดตัวด้วยน้ำ หรือใช้ลมพัด เป็นต้น) ดื่มน้ำเย็นที่ผสมด้วยเกลือเล็กน้อยหรือเครื่องดื่มเกลือแร่เจือจาง ถ้าอุณหภูมิของร่างกายยังคงเพิ่มขึ้น อาเจียน หรือไม่ได้สติ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ที่มา: กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการไต้หวัน

4 เทคนิคสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและทำงานกลางแจ้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน (ภาพจาก เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading