「新住民全球新聞網」根據「新住民子女教育資訊網」報導,早期泰國人進餐時以常見的芭蕉葉來盛飯,直接以手取飯菜進食,可能是因為早期生活必需品不足的緣故,其實用芭蕉葉或大片葉子當成盤子,將手當成筷子來使用,也非常符合現今倡導環保的理念與作法。
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาสำหรับเด็กผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ในยุคแรก ๆ คนไทยใช้ใบตองในการาเสิร์ฟอาหารและจะใช้มือรับประทาน อาจเป็นเพราะในยุคก่อน ๆ ขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์การดำรงชีวิต อันที่จริงการใช้ใบตองหรือใบไม้ขนาดใหญ่มาเป็นจาน และใช้มือแทนตะเกียบ สอดคล้องกับแนวคิดและแนวปฏิบัติในการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย
現在的泰國人習慣用盤子盛飯,用湯匙和叉子來吃飯,這些也都只是生活上的演變,並無雜俗之分。
ทุกวันนี้คนไทยนิยมนำจานมาเป็นภาชนะใส่อาหาร ตลอดจนใช้ช้อนและส้อมรับประทานอาหาร นี่เป็นเพียงวิวัฒนาการของวิถีชีวิต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนในเรื่องประเพณีอะไรมากมาย
由於地處熱帶,因此泰國人普遍嗜吃酸、辣、甜等口味重的食物,泰國在不同地區之間,飲食口味及偏好稍有差異。
เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน คนไทยจึงมักทานอาหารที่มีรสชาติเข้มข้น จัดจ้าน เช่น เปรี้ยว เผ็ด หวาน เป็นต้น รสนิยมและความชอบของอาหารแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย
例如東北地區是以糯米為主食:米粉、河粉常見在泰國北部;在曼谷附近的中部平原則為來食品:中部以南地區的海鮮料理則相當有名:南部食物則因受了馬來風味的影響,較偏重咖哩口味。
ตัวอย่างเช่น คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนคนในภาคเหนือจะทานบะหมี่หรือก๋วยจั๊บเป็นอาหารหลัก คนในพื้นที่ภาคกลางแถบกรุงเทพฯ แหล่งอาหารหลักส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลจากทางตอนใต้ ส่วนทางภาคใต้เองจะได้รับอิทธิพลจากอาหารสไตล์มาเลย์ ซึ่งชอบแกงกาหลี่เป็นอย่างมาก
อ่านข่าวเพิ่มเติม:台灣人權促進會秘書長施逸翔 為外籍移工、漁工和難民的權益保障 คุณซืออี๋เสียง เลขาธิการสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติ ลูกเรือประมง ผู้ลี้ภัย
無論是逐漸失傳的生活文化,或是正在發展的生活方式,都是居民因應當時地理環境、氣候特色等生活條件發展而來的,每種文化都是當地居民的生活智慧,值得我們好好欣賞,用心體會。
ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมที่ค่อย ๆ เลือนหายไป หรือวิถีชีวิตที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่ ล้วนถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้อยู่อาศัย ที่ต้องการปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ เช่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ ฉะนั้น แต่ละวัฒนธรรมถือเป็นภูมิปัญญาการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น และเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การใช้ใจเข้าไปสัมผัสเรียนรู้