เมื่อช่วงเวลาของการปิดเทอมภาคฤดูร้อนมาถึง นักเรียนนักศึกษาหลายคนเลือกที่จะทำงานพิเศษเพื่อหารายได้หรือสะสมประสบการณ์การทำงานและความสามารถของตนเอง กระทรวงแรงงานได้ส่งเสริมนโยบาย "มั่นคง" "สบายใจ" และ "ความปลอดภัย" เพื่อปกป้องสิทธิแรงงานของเยาวชน โดยเตือนนายจ้างและเยาวชนว่า สิทธิและผลประโยชน์ เช่น ชั่วโมงทำงาน ค่าแรง และวันหยุดพักผ่อน ของนักเรียนนักศึกษาที่ทำงาน จะเหมือนกับแรงงานทั่วไปและได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย
กระทรวงแรงงานกล่าวว่า“กฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในอาชีพ”คุ้มครองสถานที่ทำงานของเยาวชน หากนายจ้างว่าจ้างผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี ห้ามให้ทำงานที่เป็นอันตราย นอกจากนี้“กฎหมายมาตรฐานแรงงาน”ยังกำหนดด้วยว่า "ผู้ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี แต่ต่ำกว่า 16 ปีหรือต่ำกว่า 15 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม" ต้องไม่ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกินอาทิตย์ละ 40 ชั่วโมง และไม่อนุญาตให้ทำงานในช่วงวันหยุดและกลางคืนในช่วงเวลา 20.00ถึง 6.00 เช้าของวันรุ่งขึ้น นายจ้างควรทำตามกฎระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย
ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย. กระทรวงแรงงานจะดำเนิน "การตรวจสอบพิเศษเกี่ยวกับสภาพการทำงานของแรงงานนอกเวลาและเงื่อนไขการทำงานชั่วคราว" สำหรับค่าจ้างชั่วโมงการทำงาน การพักผ่อน การลาพักร้อน และกฎหมายความเสมอภาคทางเพศในอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมทำงาน รวมทั้งตรวจสอบสภาพการทำงานของแรงงานเยาวชนที่อายุไม่ถึง 18 ปี โดยพิจารณาในประเด็นการละเมิดต่างๆ เช่น "ไม่มีการเพิ่มค่าจ้างสำหรับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน", "ไม่มีการเพิ่มค่าจ้างสำหรับการทำงานในวันหยุดประจำชาติ" และ "กรณีไม่ปฎิบัติตามกฎหมายแรงงานทำงาน 7 วันหยุด 1 วัน" เป็นต้น
เยาวชนเป็นกำลังใหม่ของแรงงานในอนาคตของประเทศ กระทรวงแรงงานได้เรียกร้องให้นายจ้างใส่ใจกับสภาพการทำงานของพนักงานและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับแรงงาน เยาวชนที่ทำงานพิเศษและพบว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับก็สามารถโทรไปร้องเรียนได้ที่สายด่วยให้คำปรึกษาแรงงาน โทร 1955 ส่วนนายจ้างที่ต้องการความช่วยเหลือเนื่องจากขาดความรู้ในเรื่องกฎหมายแรงงานก็สามารถขอคำปรึกษาได้เช่นกัน