img
:::

ทำงานที่บ้าน "ไม่มีวันลาพายุไต้ฝุ่น" กระทรวงแรงงานระบุ : ไม่เห็นหน้าทำงานถือว่าลา ยกเว้นน้ำท่วมไฟดับ

คนที่ทำงานอยู่ที่บ้าน "ไม่มีวันลาพายุไต้ฝุ่น"/ภาพจาก  " EBC news"
คนที่ทำงานอยู่ที่บ้าน "ไม่มีวันลาพายุไต้ฝุ่น"/ภาพจาก " EBC news"
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ในช่วงที่มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดระดับ 3 ทั่วประเทศ ได้มีพายุไต้ฝุ่นดอกไม้ไฟค่อยๆ เคลื่อนเข้าหาไต้หวัน ทำให้มีผู้คนจำนวนมากต่างตั้งตารอว่าจะมีวันหยุดเนื่องจากสถานการณ์พายุไต้ฝุ่นหรือไม่ ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ออกมาระบุแล้วว่า แรงงานที่ทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง แม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะประกาศให้เป็นวันหยุด แต่แรงงานไม่สามารถปฏิเสธที่จะทำงานได้ นอกจากที่บ้านจะเจอกับ "1 สถานการณ์" ถึงจะสามารถลาหยุดงานเนื่องจากสถานการณ์พายุไต้ฝุ่นได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เงินอุดหนุนการป้องกันการแพร่ระบาดมาแล้ว! ฝ่ายบริหารประเทศตัดสินใจให้เงินอุดหนุน 10,000 หยวนกับเด็กแต่ละคน สามารถรับได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนนี้

 พายุไต้ฝุ่นพลุอาจโจมตีไต้หวันในสัปดาห์นี้/ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยากลาง

 พายุไต้ฝุ่นพลุอาจโจมตีไต้หวันในสัปดาห์นี้/ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยากลาง

คุณหวงเหวยเฉิน (黃維琛) ผู้อำนวยการด้านสภาพแรงงานและความเท่าเทียมกันในการจ้างงานของกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ถึงแม้การลาหยุดงานนี้จะเรียกว่า "การลาเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น" (颱風假) เหตุที่มีวันหยุดเช่นนี้เนื่องจากกลัวแรงงานจะได้รับอันตรายขณะเดินทางไปกลับจากบริษัท แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่วันหยุด ซึ่งเดิมทีนายจ้างจะมีข้อตกลงในการจ้างงานสำหรับลูกจ้างอยู่แล้ว หากลูกจ้างยังคงยืนกรานที่จะลาเนื่องจากสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น นายจ้างสามารถระบุว่าเป็นการลากิจได้ อีกกรณีหนึ่งคือ  หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงที่จะให้เป็นวันหยุดเนื่องจากพายุไต้ฝุ่น ลูกจ้างสามารถไม่ไปทำงานได้ และนายจ้างก็ไม่ต้องให้เงินค่าจ้างได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม : โรคระบาดลุกลาม! คนงาน "ติดเชื้อ" ระหว่างการเดินทาง สำนักงานประกันสังคมกล่าว : คุณสามารถขอรับค่าชดเชยอุบัติเหตุจากการทำงานได้

หากผู้ที่ทำงานอยู่ที่บ้านเกิดน้ำท่วมหรือไฟดับ สามารถลาหยุดงานพายุไต้ฝุ่นได้/ภาพจาก "Liberty Times"

หากผู้ที่ทำงานอยู่ที่บ้านเกิดน้ำท่วมหรือไฟดับ สามารถลาหยุดงานพายุไต้ฝุ่นได้/ภาพจาก "Liberty Times"

นอกจากนี้ คุณหวงเหวยเฉิน กล่าวเพิ่มเติมว่า หากสถานที่อยู่อาศัยของคนงาน สถานที่ที่ลูกจ้างต้องเดินทางผ่านไปยังที่ทำงาน หรือสถานที่ในเขตหรือเมืองประกาศให้หยุดงาน นายจ้างไม่อาจระบุว่าลูกจ้าง ขาดงาน มาสาย หรือบังคับให้ลูกจ้างลาแบบอื่น เช่น ลากิจหรือลาประจำปี และไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างทำงานเป็นกะ หักเงินโบนัสเข้างานเต็มจำนวน การเลิกจ้าง หรือการลงโทษอื่นๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยแก่ลูกจ้างได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading