ชเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ผ่านมติ พร้อมเปิดให้ทุกประเทศลงนามและให้สัตยาบัน ไต้หวันลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2509 และอนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2512
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบของสหประชาชาติ ได้ประณามลัทธิล่าอาณานิคมและการปฏิบัติใด ๆ อันก่อให้เกิดการแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือในแห่งหนใดก็ตาม มุ่งมั่นที่จะห้ามและยุติการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทั้งแบบบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ตลอดจนกำหนดกฎหมายตามสถานการณ์
ในปี พ.ศ.2556 ตามมติของคณะกรรมการที่ปรึกษาสิทธิมนุษยชนของสำนักงานประธานาธิบดีไต้หวัน ขอให้กระทรวงมหาดไทยไต้หวันดำเนินการและส่งเสริมอนุสัญญานี้ โดยยืนยันว่าประเทศของเราได้ลงนามและให้สัตยาบันก่อนที่จะถอนตัวจากสหประชาชาติ อนุสัญญานี้ เป็นสนธิสัญญาและมีผลใช้บังคับตามกฎหมายภายในประเทศอยู่แล้ว
ในปี พ.ศ. 2561 กระทรวงมหาดไทยไต้หวันได้จัดการรายงานระดับชาติและการทบทวนระดับนานาชาติอย่างจริงจัง
ในปี พ.ศ. 2563 สภาบริหารได้อนุมัติแผนการส่งเสริมที่กำหนดโดยกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน
“ICERD” เป็นหนึ่งในอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน 9 ฉบับของสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียวที่เสร็จสิ้นขั้นตอนการลงนาม ให้สัตยาบัน และดำเนินการฝากก่อนที่ไต้หวันจะถอนตัวออกจากสหประชาชาติ และมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายภายในประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ไต้หวันได้เผยแพร่รายงาน ICERD ระดับชาติครั้งแรก
รายงาน ICERD ระดับชาติยึดถือความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นแกนหลัก โดยเริ่มจาก 3 แกนหลัก ได้แก่ “ประวัติศาสตร์ของชนพื้นเมืองและความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน” “การฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย” และ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิต” โดยใช้กฎระเบียบ องค์กร นโยบาย การศึกษา การประชาสัมพันธ์ และด้านอื่น ๆ มาตรวจสอบว่ารัฐบาลได้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายงาน ICERD ระดับชาติ เรื่อง “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
” หรือไม่